Page 50 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 50

รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
             24 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก




                  ในการอนุรักษ์และคุ้มครองดังกล่าว  โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ๒) รัฐจะต้องดำาเนินมาตรการที่มี

                  ประสิทธิผลเพื่อประกันว่าจะไม่มีการเก็บหรือทิ้งวัตถุที่เป็นอันตรายในที่ดินหรือดินแดนของประชาชาติ
                  ท้องถิ่นดั้งเดิมโดยปราศจากความยินยอมที่เป็นอิสระ ล่วงหน้า และโดยได้รับข้อมูล”

                                   ๒.๓.๒.๓  บทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี (Right to
                                            Healthy Environment)

                                            ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาแนวคิดและหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชน

                  ที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำาให้สิทธิมนุษยชนมีความหลากหลายและสลับซับซ้อนมากขึ้น  สิทธิ
                  มนุษยชนเข้าไปเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นใหม่ๆ ที่ปรากฏขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
                  ก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชนประเภทใหม่ๆ เช่น สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี

                                            “สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี”  หมายถึง สิทธิที่สามารถดำารงชีพอยู่ในสภาพ

                  แวดล้อมที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิต ซึ่งเป็นสิทธิเชิงเนื้อหาประเภทหนึ่ง  สิทธิใน
                  สิ่งแวดล้อม ยังรวมไปถึงสิทธิที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์สำาหรับประชาชนในรุ่นปัจจุบัน
                  และประชาชนรุ่นลูกหลานในอนาคตด้วย

                                            บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการสนับสนุนและ

                  ส่งเสริมสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี  อาจแยกพิจารณาเป็น ๔ กรณีดังต่อไปนี้

                                            ๑)  ต�มตร�ส�รระหว่�งประเทศที่รัฐต้องดำ�เนินก�ร (Hard Law) :
                                               อนุสัญญ�ด้�นสิทธิมนุษยชนสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภ�ค

                                               ในปัจจุบัน  ยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศในรูปของเอกสารที่

                  เป็นอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย (Binding Legal Documents) ด้านสิทธิ
                  มนุษยชนเพื่อรองรับสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีในระดับระหว่างประเทศ  คงมีแต่อนุสัญญาด้านสิทธิ

                  มนุษยชนระดับภูมิภาคของภูมิภาคต่างๆ หลายฉบับที่วางมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้
                  ทั้งในรูปของสิทธิเชิงเนื้อหาและสิทธิเชิงกระบวนการ เช่น

                                   ๑.๑)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป  (European Convention on
                                         Human Rights)

                                   ๑.๒)  กฎบัตรแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชน  (African
                                         Charter on Human and Peoples)
                                   ๑.๓)  อนุสัญญาพิธีสารซานซัลวาดอร์  (San  Salvador)  ต่อท้ายอนุสัญญาสิทธิ

                                         มนุษยชนแห่งรัฐในอเมริกา (American Convention on Human Rights)
                                   ๑.๔)  อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร  การมีส่วนร่วมของประชาชน

                                         และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม  (Convention  on
                                         Access to Information, Public Participation in Decision – Making
                                         and  Access  to  Justice  in  Environmental  Matters)  หรือเป็นที่รู้จัก
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55