Page 53 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 53
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 27
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ขยายความว่า จำาเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี (Healthy
Environment) ด้วย
๓.๒) ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ. ๑๙๙๒
ปฏิญญาริโอเป็นปฏิญญาที่ให้ความสำาคัญของความสัมพันธ์หรือความ
เชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติที่เป็นสิทธิเชิง
กระบวนการโดยกล่าวถึงสิทธิของมนุษย์ที่จะมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดี สอดคล้องกับธรรมชาติ และ
หน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดหาน้ำาดื่มที่สะอาด สุขอนามัยขั้นพื้นฐาน การป้องกันและลดเหตุที่จะเผชิญกับ
สารพิษหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย หรือการป้องกันและลดเหตุที่จะทำาให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง
อันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ
๓.๓) ปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๐๒
ปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กกล่าวถึงความรับผิดชอบร่วมกันที่จะร่วมกัน
สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีเสาหลักที่มีความเชื่อมโยงและสร้างความเข้มแข็งระหว่างกัน ได้แก่
การพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อนึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า การพิจารณาเรื่อง
สิทธิในการพัฒนานั้น มีสิทธิที่สำาคัญซึ่งจำาเป็นต้องคำานึงถึงด้วย คือ สิทธิในการกำาหนดเจตจำานง
ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองทั้งจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ประเทศไทย
เป็นภาคี โดยข้อ ๑ ของกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับต่างกำาหนดว่า ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิ
ในการกำาหนดเจตจำานงของตนเอง ซึ่งมิได้กำาหนดเฉพาะสถานะทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายถึง
การดำาเนินการอย่างเสรีในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตน ซึ่งสิทธิดังกล่าว
ที่ปรากฏในปัจจุบันจะเป็นสิทธิของกลุ่มบุคคล ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนในประเทศ
ที่จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเสรีจากทรัพยากรและความมั่งคั่งจากธรรมชาติ โดยไม่ถูกแทรกแซง
๕
จากรัฐ ทั้งนี้ กติกาฯ ได้กำาหนดด้วยว่า สิทธิดังกล่าวจะถูกจำากัด (restrict) ได้ เท่าที่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ระหว่างกัน และที่กำาหนดไว้ตามกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ทั่วไป ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยกรณีใด ประชาชนย่อมต้องไม่ถูกลิดรอนจากวิถีในการดำารงชีพของตน (means
of subsistence) อันเป็นที่มาของสิทธิในการพัฒนา
มติของสมัชชาสหประชาชาติที่ ๑๐๓ (XVII) เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๖๒ เรื่อง Permanent Sover-
๕
eignty over Natural Resoutces