Page 47 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 47
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 21
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๑) ต�มพระร�ชบัญญัติสุขภ�พแห่งช�ติ พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ
วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ เป็นกฎหมายที่ให้นิยามคำาว่า “สุขภาพ” ไว้ในมาตรา ๓ ว่าหมายถึง “ภาวะของ
มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล”
โดยบทบัญญัติในหมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “บุคคลมีสิทธิ
ในการดำารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ” และวรรคสอง บัญญัติว่า “บุคคล
มีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดำาเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ตามวรรค
หนึ่ง” บทบัญญัติในมาตรา ๕ วรรคหนึ่งเป็นการรับรองสิทธิในสุขภาพในฐานะที่เป็น “สิทธิเชิงเนื้อหา”
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา ๓ และมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง
ประกอบกับบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฯ ทำาให้เห็นถึงความมีอยู่
ของสามเรื่องหลัก คือ ประการแรก “สิทธิในสุขภาพ” ตามกฎหมายไทยที่มีนัยทั้งกว้างและลึกอย่างมี
องค์รวม ประการที่สอง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิเชิงเนื้อหาหรือสิทธิในสุขภาพกับสิทธิเชิง
กระบวนการ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของสิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิ
ในการมีส่วนร่วม ประการที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิในสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะ
ของการเป็นเงื่อนไข กล่าวคือ เงื่อนไขของการมีสุขภาพดี คือ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒) ต�มปฏิญญ�ส�กลว่�ด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประช�ช�ติ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็น
ตราสารด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรกที่กำาหนดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป ปัจจุบัน
นักกฎหมายระหว่างประเทศส่วนหนึ่งเห็นว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมี
สถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว ในปฏิญญาข้อ ๒๕ (๑) มีบทบัญญัติที่ประกัน
ว่า “ทุกคนมีสิทธิในการมีมาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอที่จะมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สำาหรับ
ตนเอง ครอบครัว รวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการ
สังคม (Right to A Standard of Living Adequate for Health and Well-being)”
๓) ต�มตร�ส�รระหว่�งประเทศที่รัฐต้องดำ�เนินก�ร (Hard Law)
: กติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิท�งเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม ข้อ ๑๒ (๑) ระบุว่า รัฐภาคีจะต้องรับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและจิตให้มี
มาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะกระทำาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐภาคีจะต้องดำาเนินมาตรการต่างๆ ซึ่งรวมถึง
การปรับปรุงสุขลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมในทุกด้าน และรัฐภาคีจะต้องประกัน
เสรีภาพที่บุคคลจะสามารถควบคุม ดูแลสุขภาพของตนเองได้โดยไม่ถูกแทรกแซง ตลอดจนการ
ที่ประชาชนพึงจะได้รับระบบการคุ้มครองสุขภาพ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำาได้