Page 52 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 52
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
26 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
“สิทธิในการพัฒนา” ได้รับการรับรองในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิ
ในการพัฒนา ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติ ที่ ๔๑/๑๒๘ ในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ซึ่งกำาหนดให้รัฐมี
หน้าที่ในเบื้องแรกที่จะสร้างสภาพการณ์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนมาตรการ
ต่างๆ ที่จำาเป็นเพื่อให้สิทธิในการพัฒนาได้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และประกันโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ของทุกคนที่จะเข้าถึงทรัพยากรขั้นพื้นฐานในด้านการศึกษา การบริการสุขภาพ อาหาร ที่อยู่อาศัย การ
จ้างงาน และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ในขณะที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้รับรองข้อมติ
ที่ ๒๐๐๕/๖๐ ว่าสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development)
นอกจากนี้ “สิทธิในการพัฒนา” ยังได้รับการรับรองในกฎบัตร
แอฟริกาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และประชาชาติ และกฎบัตรสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐอาหรับ และได้รับ
การกล่าวถึงในเอกสารระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ค.ศ. ๑๙๙๒ ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา ค.ศ. ๑๙๙๓ ปฏิญญาสหัสวรรษ เป็นต้น
๓) ต�มตร�ส�รระหว่�งประเทศที่รัฐควรดำ�เนินก�ร (Soft Law) :
ปฏิญญ�ส�กลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
แม้ว่าสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติจะยัง
มิได้มีการระบุเรื่องสิทธิในสิ่งแวดล้อมไว้โดยตรงก็ตาม แต่การนำาเรื่องสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาในมิติ
ด้านสิทธิมนุษยชนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมาโดยตลอด จากการที่สหประชาชาติได้รับรองข้อมติ
และปฏิญญาสากลต่างๆ หลายฉบับ ซึ่งเป็นผลของการประชุมระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและ
การพัฒนา โดยรัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและร่วมรับรองเอกสารเหล่านั้น ดังจะเห็นได้
จากปฏิญญาสากลดังต่อไปนี้
๓.๑) ปฏิญญาสต็อคโฮล์ม ค.ศ. ๑๙๗๒
ปฏิญญาสต็อคโฮล์มระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะมีเสรีภาพ
ความเสมอภาค และสภาพการดำาเนินชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ ที่จะทำาให้บุคคลมีชีวิตอย่างมี
ศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ที่ดี และบุคคลย่อมมีความรับผิดชอบที่จะคุ้มครองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
เพื่อมนุษย์ในปัจจุบันและในอนาคต” ซึ่งสิทธิดังกล่าวเชื่อมโยงกับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างหลาก
หลายตามที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เช่น สิทธิในการมีชีวิต
และอยู่รอดอย่างมีคุณค่าและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิในมาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอ
ต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิในสุขภาพ สิทธิในน้ำา อาหาร ที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สิน สิทธิ
ในการได้รับข้อมูลข่าวสารและมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐ สิทธิในการทำางานในสภาพแวดล้อมที่ดีและ
ปลอดภัย สิทธิของเด็กและเยาวชนที่จะมีสุขภาพที่ดี เป็นต้น ในการจะได้มาซึ่ง “สิทธิในมาตรฐาน
การดำารงชีวิตที่เพียงพอต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” นั้น ผู้เสนอรายงานพิเศษของสหประชาชาติ