Page 45 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 45

ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 19
                                                               รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






                                นอกจากนี้  มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

                     บัญญัติว่า  “บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการ
                     ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ”  และวรรคสองบัญญัติว่า  “บุคคลหรือคณะ

                     บุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำาชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดำาเนิน
                     โครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชนและแสดงความเห็นของตน

                     ในเรื่องดังกล่าว”  บทบัญญัติในมาตรา ๑๑ เป็นการรับรองสิทธิใน “กระบวนการประเมินผลกระทบ
                     ด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA)” ในฐานะที่เป็น “สิทธิเชิงกระบวนการ” แบบหนึ่ง

                     ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิเชิงกระบวนการสามประเภทย่อยๆ คือ สิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการแสดง
                     ความคิดเห็น และสิทธิในการมีส่วนร่วม

                                      ๒.๓.๑.๓  บทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมทาง

                                              สิ่งแวดล้อม (Right to Access to Environmental Justice)
                                              บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการส่งเสริมและ
                     คุ้มครอง  “สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม”  ได้แก่  บทบาทในการตรวจสอบว่า

                     บทบัญญัติบางมาตรา ในหมวด ๓  สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  ในส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการ

                     ยุติธรรม  (มาตรา ๔๐)  ในส่วนที่ ๑๐  สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน  (มาตรา  ๖๐)  และใน
                     ส่วนที่ ๑๒  สิทธิชุมชน (มาตรา ๖๗ วรรคสาม) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช
                     ๒๕๕๐  ที่มีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชนระดับประเทศด้วยนั้น  ได้มีการกระทำาการละเมิดสิทธิดังกล่าว

                     หรือไม่  “สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม”  สามารถแยกพิจารณาออกเป็นกรณีต่างๆ

                     ดังต่อไปนี้

                                              ๑)  สิทธิของบุคคลในกระบวนก�รยุติธรรม
                                                  มาตรา ๔๐  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช

                     ๒๕๕๐ บัญญัติว่า  “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
                                                  (๑)  สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย  สะดวก  รวดเร็ว

                     และทั่วถึง
                                                  (๒)  สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลัก

                     ประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย  การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสาร
                     อย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือ

                     ตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้
                     รับทราบเหตุผลประกอบคำาวินิจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง

                                                  (๓)  บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่าง
                     ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50