Page 43 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 43

ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 17
                                                               รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






                                ทั้งนี้ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๖๗

                     ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                     มีบทบาทในการตรวจสอบว่า กลไกและมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลกำาหนดขึ้นเพื่อให้มีการดำาเนิน

                     กระบวนการพิจารณาเป็นไปโดยครบถ้วนตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้ หรือไม่ เพียงใด
                     โดยเฉพาะแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการวิเคราะห์

                     สิ่งแวดล้อมสำาหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน
                     คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ  ตั้งแต่ขั้นตอนการกำาหนดขอบเขตและแนวทาง

                     การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ  ขั้นตอนการประเมินและจัดทำารายงานการวิเคราะห์
                     ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และในการทบทวนร่างรายงานดังกล่าว

                                มีข้อสังเกตว่า  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  ได้นำา
                                                                                             ๓
                     กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA)   ไปใช้เป็น
                     เครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อประกอบการอนุมัติอนุญาตโครงการที่เข้าข่าย มาตรา ๖๗ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติ










                          การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment :  / HIAa) หมายความว่า กระบวนการ
                        ๓
                        เรียนรู้ร่วมกันของสังคมในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสุขภาพของ
                        ประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบาย  โครงการหรือกิจกรรม  อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  หากดำาเนิน
                        การในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน  โดยมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วม
                        อย่างเหมาะสม  เพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและ
                        ระยะยาว  (ที่มา : ข้อ ๑ หมวด ๑ ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
                        ผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๒)
                          เอกสารท้ายประกาศของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำาหนดประเภท
                        และขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์วิธีการ
                        ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒)
                        และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ
                        และแนวทางในการจัดทำารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สำาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้
                        เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (๒๙
                        ธันวาคม  ๒๕๕๒)  ต่างกำาหนดให้โครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำารายงาน EIA ตามประกาศ  ต้องดำาเนินการ
                        ตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ซึ่งสำานักงาน
                        นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  ได้ระบุว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
                        สามารถบูรณาการไว้ในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การกลั่นกรองโครงการ
                        การกำาหนดขอบเขตการศึกษา การประเมินผลกระทบ การพิจารณารายงานและการตัดสินใจ  การติดตาม
                        ตรวจสอบและประเมินผล และการจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับ
                        ประเด็นด้านสุขภาพ ควรต้องจัดทำาโดยผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์  รวมทั้งให้ความสำาคัญในเรื่องการมี
                        ส่วนร่วมของประชาชนด้วย  (ที่มา  :  “แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผล
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48