Page 40 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 40

รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
             14 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก




                  ได้จริงในทางปฏิบัติ  ตัวอย่างเช่น สิทธิในสุขภาพ  สิทธิในสิ่งแวดล้อม  เป็นสิทธิเชิงเนื้อหา แต่การจะ

                  ได้มาซึ่งสิทธิดังกล่าว ต้องอาศัยสิทธิเชิงกระบวนการเข้าช่วยเหลือ เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
                  สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

                             เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก  คณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาถึงอำานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสิทธิต่างๆ ทั้งสิทธิเชิงกระบวนการ

                  และสิทธิเชิงเนื้อหา  และเห็นว่า สาระสำาคัญแห่งสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ  พันธกรณี

                  ระหว่างประเทศ หรือที่ปรากฏในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ควรนำามาพิจารณาในกรณีนี้ ได้แก่
                  สิทธิในการเข้าถึงสุขภาพที่ดี  ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดี


                             ๒.๓.๑ บทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเชิงกระบวนการประเภทต่างๆ เพื่อการ
                  เข้าถึงซึ่งสุขภาพที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดี

                                   ๒.๓.๑.๑   บทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

                                            (Right to Information)
                                            บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการส่งเสริมและ

                  คุ้มครอง “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร”  ได้แก่ บทบาทในการตรวจสอบว่า  บทบัญญัติในหมวด
                  ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน (มาตรา ๕๖ -

                  มาตรา ๖๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่มีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชน
                  ระดับประเทศด้วยนั้น  ได้มีการกระทำาการละเมิดสิทธิดังกล่าวหรือไม่  “สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการ

                  ร้องเรียน” สามารถแยกพิจารณาออกเป็นกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
                                            ๑)  สิทธิรับทร�บและเข้�ถึงข้อมูลหรือข่�วส�รส�ธ�รณะในครอบครอง

                                               ของร�ชก�ร
                                               มาตรา ๕๖  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช

                  ๒๕๕๐  บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครอง
                  ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือ

                  ข่าวสารนั้น  จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับ
                  ความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

                                            ๒)  สิทธิได้รับข้อมูล คำ�ชี้แจง และเหตุผลของร�ชก�รเกี่ยวกับ
                                               โครงก�รหรือกิจกรรมบ�งประเภท

                                               มาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช ๒๕๕๐  บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำาชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ

                  หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำาเนินโครงการหรือ
                  กิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45