Page 39 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 39

ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 13
                                                               รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






                     ซึ่งบทบาทในเรื่องนี้มีลักษณะสอดคล้องกับอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                     ตามมาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  และ
                     มาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                                                  นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังมีบทบาทใน
                     การส่งเสริม “สิทธิเสรีภาพ” ของบุคคลที่เป็นชนชาวไทยอีกด้วย ซึ่งได้แก่ บทบาทในการตรวจสอบว่า

                     บรรดาสิทธิเสรีภาพในเรื่องต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่มีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชนระดับประเทศด้วยนั้น ได้มีการเคารพและการปฏิบัติ

                     ตามหรือไม่ ซึ่งบทบาทในเรื่องนี้มีลักษณะสอดคล้องกับอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                     แห่งชาติตามมาตรา ๑๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                                                  สำาหรับ “สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เป็นชนชาวไทย” ตามหมวด ๓
                     นั้นมีเนื้อหาครอบคลุมสิทธิประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง  สำาหรับกรณีการร้องเรียนของเครือข่าย

                     ประชาชนภาคตะวันออกนั้น  สิทธิที่อาจได้รับผลกระทบ ได้แก่ สิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัย
                     และสวัสดิภาพในการทำางาน (มาตรา ๔๔) สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

                     โดยเฉพาะสิทธิเด็กและเยาวชนที่มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาตามศักยภาพในสภาพ
                     แวดล้อมที่เหมาะสม (มาตรา ๕๒) สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน (มาตรา ๕๖ – ๖๒) และการ

                     รับรองสิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการ
                     มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ บำารุงรักษา และได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ (มาตรา ๖๖ – ๖๗)

                                                  จะเห็นได้ว่า เหตุผลประการหนึ่งที่รัฐธรรมนูญกำาหนดให้คณะ
                     กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีบทบาท

                     มากพอและสามารถเป็นช่องทางหนึ่งในหลายช่องทางในการให้หลักประกันการใช้สิทธิเสรีภาพของ
                     ประชาชน  รวมตลอดถึงเป็นช่องทางในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพดังกล่าวด้วย



                            ๒.๓ สถานะและบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการส่งเสริมและ

                     คุ้มครองสิทธิเชิงกระบวนการ (Procedural Rights) และสิทธิเชิงเนื้อหา (Substantive Rights) เพื่อ
                     การเข้าถึงซึ่งสุขภาพที่ดี ทรัพยากรธรร-มชาติที่มีคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดี

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริม “สิทธิ

                     ประเภทต่างๆ” ที่นำาไปสู่การเข้าถึงซึ่งสุขภาพที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดี
                     สิทธิประเภทต่างๆ ดังกล่าวได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายทั้งภายในประเทศและที่เป็นตราสารระหว่าง

                     ประเทศ (ทั้งในรูปสนธิสัญญา ปฏิญญา แนวปฏิบัติ หรือรูปแบบอื่นๆ) ซึ่งกฎหมายและตราสารเหล่านี้
                     อาจจำาแนกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ  ได้แก่  กฎหมายและตราสารที่สนับสนุน  “สิทธิเชิงกระบวนการ”

                     กับกฎหมายและตราสารที่สนับสนุน “สิทธิเชิงเนื้อหา”  โดยกฎหมายและตราสารที่สนับสนุน “สิทธิเชิง
                     กระบวนการ”  นั้นมีบทบาทที่สำาคัญอย่างยิ่ง  เนื่องจากสนับสนุนให้ “สิทธิเชิงเนื้อหา”  สามารถเกิดขึ้น
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44