Page 37 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 37
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 11
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒.๒ สถานะและบทบาท (Status and Roles) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายภายในของไทย
๒.๒.๑ สถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับการรับรองสถานภาพและบทบาท
ในฐานะที่เป็น “สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีความเป็นอิสระ” ภายใต้หลักการปารีส (Principles
Relating to the Status and Functioning of National Institutions for Protection and
Promotion of Human Rights หรือที่รู้จักกันในนามว่า Paris Principles) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐาน
กำาหนดหน้าที่และความเป็นอิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยยึดหลักการและพื้นฐานของตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยได้รับการประเมินจาก International
๒
Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of
Human Rights (ICC) ว่ามีสถานะ A หมายถึง มีความเป็นอิสระ สอดคล้องกับหลักการปารีส
ทุกประการ
๒.๒.๒ บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สืบเนื่องจากการมี “สถานะ” ตามข้อ ๒.๒.๑ ทำาให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติมี “บทบาท” ที่สอดคล้องกับสถานะดังกล่าวในการปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุน
สิทธิมนุษยชนในลักษณะและแง่มุมต่างๆ ซึ่งอาจแยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี ดังต่อไปนี้
๒.๒.๒.๑ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้เขต
อำานาจรัฐ โดยมิได้จำากัดเฉพาะชนชาวไทย
บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครอง
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล โดยมิได้จำากัดเฉพาะชนชาวไทย
ได้แก่ บทบัญญัติมาตรา ๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้
ในหมวด ๑ บททั่วไป โดยวางหลักการทั่วไปไว้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ
เสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าบุคคลใดๆ ที่อยู่ในเขตอำานาจ
รัฐไทยย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
ทุกคนที่พึงได้รับ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้
หลักการปารีสได้รับการรับรองโดยมติของสมัชชาสหประชาชาติ ที่ ๔๘/๑๓๔ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ค.ศ.
๒
๑๙๙๓ ให้กำาหนดแนงทางสำาหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่แต่ละประเทศจะจัดตั้งขึ้น โดยต้องมีความ
เป็นอิสระทั้งในด้านงบประมาณ การบริหารจัดการ และการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชน