Page 36 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 36
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
วัฒนธรรม รัฐบาลจะต้องจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เหมาะสมเพื่อดำาเนินการดังกล่าว เช่น
จะต้องดำาเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดสิทธิตามความก้าวหน้าเป็นลำาดับ (Progressive
Rights)
สนธิสัญญาและอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ซึ่งมีผล
ผูกพันทางกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญา จำานวนทั้งสิ้น ๗ ฉบับ ได้แก่
๑) อนุสัญญ�ว่�ด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC) และพิธีสาร
ต่อท้าย ๒ ฉบับ ได้แก่ พิธีสารเลือกรับว่าด้วยการค้าเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกที่
เกี่ยวกับเด็ก และพิธีสารเลือกรับว่าด้วยความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งทางอาวุธ
๒) อนุสัญญ�ว่�ด้วยก�รขจัดก�รเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) และพิธีสาร
เลือกรับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
๓) กติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิท�งก�รเมือง (International
Covenant on Civil and Political Right : ICCPR)
๔) กติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิท�งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Right : ICESCR)
๕) อนุสัญญ�ว่�ด้วยก�รขจัดก�รเลือกปฏิบัติท�งเชื้อช�ติในทุกรูปแบบ (International
Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : ICERD)
๖) อนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นและก�รปฏิบัติหรือก�รลงโทษอื่นที่โหดร้�ย ไร้มนุษยธรรม
หรือย่ำ�ยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or
Degrading Treatment or Punishment : CAT)
๗) อนุสัญญ�ว่�ด้วยสิทธิของคนพิก�ร (Convention on the Rights of Persons with
Disabilities)
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังรับรองสนธิสัญญาระดับภูมิภาคที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
และได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงด้านสุขภาพที่ดี ทรัพยากร
ธรรมชาติที่มีคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิจารณาในกรณีนี้ ๑
หมวดที่ ๑ ข้อที่ ๑ (๗) ของกฎบัตรอาเชียน ระบุว่า อาเซียนมีมุ่งประสงค์ที่จะเสริมสร้างประชาธิปไตย
๑
เพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตลอดจนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
โดยคำานึงถึงสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิกอาเซียน และข้อที่ ๑ (๙) ระบุว่า อาเซียนมุ่งประสงค์ที่จะสนับสนุน
ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน