Page 16 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 16

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   15



                            อย่างไรก็ดีการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยและของผู้ด้อยโอกาส
                     ยังเป็นปัญหาอยู่ สหประชาชาติจึงประกาศอนุสัญญาหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมกลุ่ม

                     ชนท้องถิ่น (UN Declaration on the Rights of Indigenous Peoples, 2007) และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิ
                     ของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางสัญชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนาและภาษา (Declaration of the Rights of
                     Persons belonging to National or Ethnic, Religious and Linguistic Minorities, 1992)




















                            3. อัตลักษณ์กับสิทธิทางวัฒนธรรม

                            การยอมรับความหลากหลายและแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้เป็นสิ่งจําเป็น กรณีประเทศไทย  แม้
                     รัฐบาลตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้พยายามใช้นโยบายผสมกลมกลืน (assimilation) ให้ทุกกลุ่มชน

                     ในประเทศไทยแปรเปลี่ยนเป็นคนไทยให้หมด รัฐบาลก็ไม่ประสบความสําเร็จ กลับสร้างปัญหาตามมาด้วยซ้ํา
                     รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกคนในประเทศไทยเป็นคนไทยและมีวัฒนธรรมไทยคือ พูดภาษาไทย ยึดถือ

                     ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย ซึ่งอาจหมายรวมถึงนับถือศาสนาพุทธด้วย โดยมีการตั้งสํานักงาน
                     เอกลักษณ์แห่งชาติ ปัจจุบันเราพบว่าแม้บางขณะ การพยายามผสมกลมกลืนเพื่อสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นหนึ่ง
                     เดียวเหมือนกันหมด ประสบความสําเร็จบ้าง แต่ไม่ทั้งหมด สําหรับบางคนที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมอื่นที่

                     ไม่ใช่ไทย การบังคับให้เป็นคนไทยกลับเป็นการสร้างความกดดันในจิตใจ และทําให้เกิดแรงต้านเสียด้วยซ้ํา
                     ทั้งนี้เพราะอัตลักษณ์มีหลายมิติคือ ประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ศาสนาความเชื่อ ชาติพันธุ์ ภาษา เพศ

                     ลักษณะทางชีวภาพ และสัญชาติ การพยายามให้คนที่มีความแตกต่างจากคนไทยในหลายๆ มิติ ปรับเปลี่ยน
                     มาเป็นคนไทยที่มีวัฒนธรรมไทย หรือเอกลักษณ์ไทยในทุกมิติ ย่อมมีผลกระทบต่อระบบคิดและความเชื่อที่มี

                     อยู่เดิมค่อนข้างมาก

                            เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสร้าง “เอกลักษณ์” ข้าราชการและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จึงปฏิบัติตาม และ

                     พยายามบีบบังคับให้ผู้ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างเปลี่ยนมารับวัฒนธรรมไทย มีผลในการออกกฎหมาย หรือการ

                     ปฏิบัติในลักษณะที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21