Page 15 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 15

14       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       2. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับสิทธิทางวัฒนธรรม
                       ความคิดเรื่องความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ได้เปลี่ยนไปมากตั้งแต่ช่วง

                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งเป็นยุคหลังการล่าอาณานิคม และยุค
                ของการเกิดประเทศใหม่ รัฐบาลของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเล็กๆ ต้องคํานึงถึงการสร้าง
                ชาติและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ รัฐเชื่อว่าการพยายามหลอมรวมวัฒนธรรมเพื่อสร้าง

                วัฒนธรรมชุดเดียวกัน ให้ทุกคนคิดเหมือนกัน เชื่อเหมือนกัน และปฏิบัติเหมือนกัน จะทําให้ปกครองได้ง่าย
                ผลปรากฏว่า การพยายามหลอมรวมวัฒนธรรมประสบความล้มเหลวในทุกสังคม เหตุผลคือ:


                       (1) ความคิดดั้งเดิมว่าวัฒนธรรม คือ ธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ภาษาที่ผูกติดกับกลุ่มคนหรือ

                กลุ่มชาติพันธุ์ ทําให้เกิดความรู้สึกยึดติดกับสิ่งที่สังคมได้จินตนาการไว้ว่า เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมในอุดมคติ และ
                ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ความคิดแบบยึดติดกับรูปแบบดั้งเดิมนี้มีผลทําให้ชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ไม่เต็มใจที่
                จะเปลี่ยนและยอมรับวัฒนธรรมของชนกลุ่มใหญ่ ทําให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน สร้างความขัดแย้งในสังคม


                       (2) รัฐบาลของหลายประเทศใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือควบคุมประชาชน ผ่านนโยบายผสม

                กลมกลืนทางวัฒนธรรม หรือการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในรูปของการปฏิวัติวัฒนธรรม การใช้วัฒนธรรมเพื่อ
                เสริมสร้างอํานาจให้แก่ฝ่ายปกครองจึงมีผลทําให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกัน


                       ความล้มเหลวในการจัดการกับวัฒนธรรม มีผลทําให้เกิดการตีความใหม่ว่าวัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่มี
                รูปแบบตายตัวเปลี่ยนไม่ได้ หรือมีรูปแบบสําเร็จรูป ในทางกลับกัน วัฒนธรรมมีลักษณะลื่นไหลปรับเปลี่ยนไป

                มาตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ การปรับกระบวนทัศน์ในการให้ความหมายของวัฒนธรรมนี้มีผลทําให้
                ผู้คนผ่อนคลายและไม่ยึดติดกับรูปแบบดั้งเดิมทั้งชุด ขณะเดียวกันรัฐก็ไม่มีรูปแบบสําเร็จรูปไว้บังคับใช้อีก

                ต่อไป ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมจึงกลายมาเป็นความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกัน โดยยอมรับในความ
                แตกต่าง ไม่มีการควบคุมรูปแบบของวัฒนธรรมและเปิดพื้นที่ให้ปัจเจกบุคคลมีสิทธิทางวัฒนธรรมของตัวเองได้


                       กระบวนการทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดจากการยอมรับการเปลี่ยนแปลง การ

                ปรับเปลี่ยน ไม่ยึดติดในรูปแบบเฉพาะ และยอมรับสิทธิทางวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคลและของกลุ่มความ
                หลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึง ความหลากหลายหรือแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่านั้น แต่หมายถึงความ
                หลากหลายแตกต่างภายในกลุ่มด้วย มนุษย์แต่ละคนมีอัตลักษณ์ของตัวเองหลากหลายมิติ และมีหลาย

                อัตลักษณ์ในตัวคนเดียวกันได้ รูปแบบของการผสมผสานทางวัฒนธรรมในสังคมสมัยปัจจุบันคือ การเกิด
                อัตลักษณ์ที่หลากหลายและเท่าเทียม เนื่องจากมีความแตกต่างหลากหลายจึงไม่มีรูปแบบใดเหนือกว่ากัน การ

                ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงเกิดขึ้นจากการเคารพในสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20