Page 12 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 12

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   11



                        •  ข้อ 15 ระบุว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม ที่จะอุปโภค
                            สิทธิประโยชน์แห่งความก้าวหน้าและการประยุกต์ใช้ทางวิทยาศาสตร์ ที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการ

                            คุ้มครองผลประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุในประโยชน์อันเกิดจากการผลิตทางวิทยาศาสตร์
                            วรรณกรรม หรือศิลปกรรมที่ตนเป็นผู้สร้างสรรค์ ขั้นตอนซึ่งรัฐภาคีแห่งกติกานี้จะดําเนินเพื่อทําให้

                            สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์ ให้รวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จําเป็นเพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนา และการ
                            เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทางวัฒนธรรม….”


                            นอกจากนี้  การศึกษากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง พบว่ามี
                     กติกาหลายข้อที่มีมิติทางวัฒนธรรมปรากฏอยู่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                               ข้อ  1    สิทธิในการกําหนดวิถีชีวิตตนเอง
                               ข้อ  13  สิทธิคนต่างด้าว

                               ข้อ  18  เสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา
                               ข้อ  27  สิทธิของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์

                            ทั้งนี้จึงเป็นการยืนยันว่า เรื่องสิทธิเป็นเรื่องที่มีหลายมิติ มีความซับซ้อน จําเป็นที่ต้องพิจารณาใน
                     ลักษณะองค์รวม และไม่สามารถกําหนดขอบเขตภายใต้กรอบที่จํากัดได้


                            นอกเหนือจากกติการะหว่างประเทศ 2  ฉบับแล้ว ยังมีอนุสัญญา (Convention)  และปฏิญญา
                     (Declaration)   ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิทางวัฒนธรรมอีกหลายฉบับ ส่วนใหญ่เป็นผลงานขององค์การ

                     การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO – United Nations Educational,
                     Scientific and Cultural Organization)  อนุสัญญา ปฏิญญา และเอกสารหลักในประเด็นเรื่องวัฒนธรรม

                     คือ
                        1.  ปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Universal Declaration on Cultural

                            Diversity, 2001)
                        2.  อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง ส่งเสริมการแสดงออกในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                            (Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural
                            Expressions, 2005)
                        3.  ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิทางวัฒนธรรม  (Fribourg Declaration on Cultural Rights, 2007)

                        4.  รายงาน UNESCO World Report   เรื่อง การลงทุนในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการ
                            สานเสวนาระหว่างวัฒนธรรม  (UNESCO World Report 2009: Investing in Cultural

                            Diversity and Intercultural Dialogue)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17