Page 18 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 18

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   17



                                   ปัญหาชายแดนภาคใต้จึงเป็นตัวอย่างของการละเมิดสิทธิทางวัฒนธรรม มีการเลือกปฏิบัติ
                     มีความไม่เป็นธรรม สร้างความแค้นเคืองให้คนในพื้นที่ จนมีบางกลุ่มต้องการเสรีภาพ อิสรภาพ เพื่อจะได้

                     สามารถคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์มลายูมุสลิม ถ้ารัฐบาลยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยอมรับอัตลักษณ์มลายู
                     มุสลิม สร้างความเสมอภาค ความยุติธรรม ความรู้สึกแปลกแยกก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง

                                   เสรีภาพในการธํารงวัฒนธรรมโดยได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชนกลุ่มอื่น จะทําให้
                     การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นไปตามธรรมชาติ ทําให้คนเราสามารถมีความภูมิใจในภูมิหลังของ

                     บรรพบุรุษและวัฒนธรรมดั้งเดิม  และในขณะเดียวกัน มีพื้นที่ทางสังคมเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ในสังคมด้วย
                     ถ้าเรายอมรับว่าวัฒนธรรมมีลักษณะลื่นไหล  และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบตายตัว

                     รูปแบบเดียว การอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างก็จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

                                   3.3 การแสวงหาพื้นที่ทางวัฒนธรรมของผู้ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

                                   ผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากวัฒนธรรมไทย และมีจํานวน
                     ประชากรไม่มาก พบว่ากลุ่มชนชาติพันธุ์ขนาดเล็กเหล่านี้กําลังแสวงหาพื้นทางวัฒนธรรม ชาวเล ซาไก มราบรี

                     หรือแม้แต่ ม้ง เมี่ยน มูเซอ แต่ละคนต้องการธํารงวัฒนธรรมของตนไว้ในขณะที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย
                     ความสําเร็จในการธํารงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนขึ้นอยู่กับการยอมรับของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่

                     ร่วมกันบนผืนแผ่นดินนี้

                                   นอกจากนี้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่น เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ

                     เด็ก ผู้หญิง ฯลฯ ต่างก็แสวงหาพื้นที่ทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน ทุกกลุ่มรอคอยการยอมรับ การเคารพใน
                     ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคเท่าเทียม


                            4.  โลกาภิวัตน์กับสิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรม
                            การตอบโต้โลกาภิวัตน์ด้วยมิติวัฒนธรรม มีให้เห็นในหลายรูปแบบ เช่น การฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น

                     ดั้งเดิม การฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบวัฒนธรรมในยุค

                     โลกาภิวัตน์พอสังเขป

                                   4.1 การฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรม

                                   เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์และบริโภคนิยมขยายตัวอย่างรวดเร็วในลักษณะที่คนท้องถิ่นตั้งรับ
                     ไม่ทัน ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมจะกลายเป็นปัญหารุนแรง การฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญา

                     ชาวบ้านจึงเป็นทางเลือกสําหรับคนที่ไม่ต้องการวัฒนธรรมใหม่ แนวคิดเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ เศรษฐกิจ
                     พอเพียง การใช้สมุนไพรรักษาโรค การบําบัดด้วยการนวดแผนโบราณ การแสดงพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง

                     ฯลฯ ล้วนเป็นการต่อต้านกระแสบริโภคนิยม และในขณะเดียวกัน เมื่อได้รับความนิยมก็กลายเป็นกระแส
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23