Page 19 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 19
18 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งเสริมการท่องเที่ยวก็มีส่วนสนับสนุนแนวคิด
ท้องถิ่นนิยมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเป็นการเสริมซึ่งกันและกัน
กล่าวได้ว่า UNESCO Universal Declaration of Cultural Diversity (2001) ได้มีส่วน
อย่างมากในการสนับสนุนให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพื่อเป็นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม
ดั้งเดิม และในกรณีเขาพระวิหาร ก็เห็นได้ชัดเจนว่าการพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรม ก็อาจสร้างปัญหาความ
ขัดแย้งได้ จากการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรม จึงเกิดการหวงแหน ช่วงชิง และอาจขยายไปสู่ปัญหา
การครอบครองพื้นที่ ปัญหาพรมแดน ตลอดจนการสู้รบกันได้
4.2 ความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม การสร้างวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
โลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยมซึ่งให้ความสําคัญกับความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีผลในการ
สร้างความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมด้วย การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับคําถามเรื่องการเป็น
เจ้าของวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย คําถามว่าวัฒนธรรมคือทรัพย์สินสาธารณะ หรือ
ทรัพย์สินส่วนตัว เป็นประเด็นที่ท้าทายประเด็นหนึ่ง กรณีวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (tangible culture) อาจ
แสดงความเป็นเจ้าของได้ไม่ยากนัก แต่วัฒนธรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้ในลักษณะภูมิปัญญา (intangible
culture) เช่น สูตรอาหารหรือเทคนิคการประดิษฐ์สิ่งของ การแสดงความเป็นเจ้าของย่อมมีความยากลําบาก
การแสดงความเป็นเจ้าของจึงต้องผ่านการขึ้นทะเบียน และจดทะเบียนลิขสิทธิ์
ในสังคมปัจจุบัน มีการส่งเสริมการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งใหม่ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และ
ทางด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก มีการพูดถึงนวัตกรรมใหม่ ซึ่งถือเป็นการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และเมื่อ
จดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วจะสามารถผลิตขายได้ในจํานวนมาก สําหรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ การเป็นเจ้าของย่อมเป็น
สิทธิส่วนบุคคลของผู้ประดิษฐ์ และไม่มีปัญหาโต้แย้งเท่าใดนัก แต่สําหรับสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิม การพิสูจน์ความเป็น
เจ้าของ จึงกลายเป็นปัญหาระหว่างวัฒนธรรมได้