Page 17 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 17
16 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
การบริหารปกครองที่ไม่เป็นธรรม มีอคติ การเลือกปฏิบัติ จึงมีให้เห็นเสมอมา ปฏิบัติการของรัฐดังกล่าวจึง
ผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ดังนี้
3.1 กระบวนการทวิลักษณ์
คนจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากประเทศจีน และมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้เปลี่ยนผ่าน
กระบวนการเปลี่ยนจากชนกลุ่มน้อยเป็นชนกลุ่มใหญ่ และกลายมาเป็นคนไทยได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะคนจีน
กลุ่มที่ตั้งใจเดินทางจากประเทศจีนเพื่อเดินทางมาทํางาน แม้ในระยะแรกยังไม่ตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน
(sojourner) และต่อมาตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน (settler) เมื่อตั้งถิ่นฐานแล้วก็พร้อมที่จะปรับตัวให้ผสมกลมกลืน
กับผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่รอบตัว มีการรับวัฒนธรรมไทยและถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนให้คนไทยไปพร้อมๆ กันด้วย
ในระยะที่รัฐบาลเคร่งครัดเรื่องต้องการให้ชนกลุ่มน้อยเป็นคนไทย คนจีนในประเทศไทยก็
พยายามแสดงออกว่าเป็นคนไทย แต่หลังจากนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เดินทางไปประเทศ
จีนและสร้างความสัมพันธ์ ไทย-จีน “ความเป็นคนจีน” กลับกลายเป็นคุณลักษณะที่ไม่ต้องปิดบังกันอีกต่อไป
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นจีนกลับแสดงความภูมิใจในรากเหง้าของตัวและเรียกตัวเองว่า “คนไทยเชื้อสายจีน” หรือ
“ไทยจีน”
กรณีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นก็เกิดกระบวนการทวิลักษณ์เช่นเดียวกัน เรามี “ไทยลาว” และ
“ไทยเขมร” “ไทยมอญ” “ไทยญวน” กรณีไทยญวน มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่อพยพมาสมัยอยุธยาและ
รัตนโกสินทร์ตอนต้น กับกลุ่มที่เข้ามาสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง เนื่องจากกลุ่มที่ย้ายมาครั้ง
หลังนี้ ย้ายมาด้วยเหตุผลทางการเมือง รัฐบาลจึงกําหนดกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมดูแล มีผลทําให้การได้รับ
สัญชาติไทย และการตั้งถิ่นฐานในไทยยังไม่สมบูรณ์ กระบวนการเกิดทวิลักษณ์จึงยังไม่สมบูรณ์เท่ากลุ่มอื่นที่
กล่าวไปแล้ว (อมรา พงศาพิชญ์, 2547)
3.2 ความแปลกแยกทางวัฒนธรรม
คนมลายูมุสลิมในภาคใต้อาศัยอยู่ในแผ่นดินที่เป็นภาคใต้ของประเทศไทยมายาวนาน ไม่ใช่
ผู้อพยพมาใหม่ จึงมีความผูกพันกับแผ่นดินและความเป็นมลายู นอกจากนี้เนื่องจากคนมลายูแถบนี้ส่วนใหญ่
นับถือศาสนาอิสลาม อัตลักษณ์มลายูมุสลิมจึงมีคุณลักษณะสําคัญ 3 ข้อที่แตกต่างจากคนไทยในภาคอื่นของ
ประเทศคือ ชาติพันธุ์ ภาษาและศาสนา นอกจากนี้ ประวัติความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานและวิถีชีวิตก็
แตกต่างด้วย การที่รัฐบาลพยายามเปลี่ยนให้คนมลายูมุสลิมในภาคใต้ซึ่งเป็นคนที่มีสัญชาติไทยเหมือนคนไทย
ในภาคอื่น ต้องเปลี่ยนมิติอื่นๆ ของอัตลักษณ์ให้เหมือนคนภาคอื่นด้วย จึงไม่ประสบความสําเร็จ และกลับ
สร้างความแปลกแยก