Page 14 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 14
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 13
1. วิถีวัฒนธรรมชุมชนกับสิทธิทางวัฒธรรมของปัจเจก
ข้อถกเถียงในหัวข้อนี้มีประเด็น คือ
(1) การพิจารณาเรื่องสิทธิทางวัฒนธรรม มักหนีไม่พ้นการพิจารณาเรื่องวิถีวัฒนธรรมในระดับชุมชน
หรือกลุ่มคน มากกว่าระดับปัจเจก ข้อดีของวิถีวัฒนธรรมชุมชน คือ การที่สังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคย
ยึดถือร่วมกันมา โดยที่ประเพณีนั้นทําหน้าที่เป็นกลไกทางสังคมที่สร้างสํานึกร่วมของการเป็นสมาชิกในชุมชน
และบางครั้งทําหน้าที่แก้ไขหรือเยียวยาปัญหาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ เช่น นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคมชน
เผ่าในอัฟริกา ได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมในการเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่อยู่ใต้อํานาจและถูกกดทับ ได้มี
โอกาสแสดงออก ในสังคมชนเผ่าซูลู ที่ผู้ชายมีอํานาจมาก และผู้หญิงถูกกดขี่ไม่มีโอกาสแสดงออก การแสดง
ละครประจําปีตามประเพณีของชนเผ่า เปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถด่าว่า และใช้คําหยาบแสดงความโกรธ
เกลียดเคียดแค้นผู้ชายได้ แต่การแสดงออกเพื่อลดความกดดันนี้ สามารถแสดงได้เฉพาะบนเวทีการแสดง
เท่านั้น หลังจากนั้นก็จะต้องกลับไปใช้ชีวิตปกติที่ถูกกดขี่ข่มเหงต่อไป กรณีนี้กลไกทางวัฒนธรรมจึงทําหน้าที่
ลดปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้
ข้อดีของวิถีวัฒนธรรมชุมชนข้อที่สอง คือ การที่สมาชิกในชุมชนสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน
สามารถแบ่งปันกันได้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินส่วนรวมร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาการ
แก่งแย่ง ช่วงชิง และแข่งขัน และสร้างความสามัคคีและสมานฉันท์ได้
(2) ปัจจุบันพบว่าสิทธิด้านวิถีวัฒนธรรมชุมชน อาจขัดแย้งกับสิทธิวัฒนธรรมระดับปัจเจกบุคคลได้
การอ้างขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม เพื่อบังคับให้สมาชิกในชุมชนต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามพิธีกรรม
บางอย่าง ด้วยเหตุผลของวิถีชุมชนย่อมไม่ถูกต้อง เช่น ประเพณีลงโทษผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์ทางเพศนอก
สมรสด้วยการใช้หินทุ่ม (stoning) ย่อมเป็นการทรมานและเป็นการละเมิดสิทธิระดับบุคคล ประเพณีเย็บ
อวัยวะเพศของหญิงสาวเพื่อรักษาพรหมจรรย์ก่อนการแต่งงานย่อมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนบุคคล
เป็นต้น
ประเด็นถกเถียงเรื่องสิทธิทางวัฒนธรรมในระดับกลุ่ม/ชุมชน กับระดับปัจเจก จึงเป็นเรื่องที่ต้อง
พิจารณาตามบริบทของชุมชน/สังคม นั้นๆ ปฏิญญาสิทธิทางวัฒนธรรม ข้อ 9 ได้กําหนดแนวปฏิบัติไว้ว่าให้ยึด
หลักธรรมาภิบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องพิจารณาจากมุมมองของสาธารณะ หรือปัจเจก
หรือพลเมือง โดยจัดให้มีการปรึกษาหารือ การนําเสนอข้อมูล โดยคํานึงถึงมิติทางวัฒนธรรม ความ
หลากหลาย ความทั่วถึง และให้ความสําคัญกับผู้ด้อยโอกาสมากกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ประเด็นพิจารณา
ยังมีเรื่องของความเหมาะสมและการยอมรับทางวัฒนธรรมด้วย