Page 11 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 11
10 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่เป็นนามธรรมและมีลักษณะอุดมคติ การนําแนวคิดนี้สู่
ภาคปฏิบัติจึงเป็นเรื่องที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ สาเหตุหนึ่ง คือ กลไกสหประชาชาติกําหนดว่า
การร่างปฏิญญา อนุสัญญา หรือกติการะหว่างประเทศ ต้องมีกระบวนการรับรองตามขั้นตอนที่กําหนด จึง
ปรากฏว่ากติการะหว่างประเทศที่นําเสนอต่อประเทศสมาชิกหลังประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
แล้วนั้น ใช้เวลา 18 ปี จึงร่างสําเร็จจนถึงขั้นที่สหประชาชาติรับรองเป็นกติการะหว่างประเทศ 2 ฉบับ ในปี
พ.ศ. 2509 และมีผลบังคับใช้อีก 10 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 กติกา 2 ฉบับ คือ
(1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
สําหรับกติกาฉบับแรกที่มีประเด็นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้น มุ่งเน้นให้
ความสําคัญในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองด้านสุขภาพ การศึกษา สังคม บริการ และการจัดสรรทรัพยากร
ตามความจําเป็นพื้นฐาน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มภาษา และความเป็นหญิงชาย
ส่วนกติกาฉบับที่ 2 ให้ความสําคัญเรื่อง การเคารพสิทธิพลเมืองและการเมือง ไม่มีการทรมาน วิสามัญ
ฆาตกรรม ไต่สวนโดยไม่เป็นธรรม ฯลฯ
แนวคิดสิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรม
ดังได้กล่าวมาแล้ว คําว่าสิทธิทางวัฒนธรรมปรากฏเป็นถ้อยคําชัดเจนในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้ร่างได้ยึดตามหลักการสิทธิมนุษยชน ที่มองว่าสิทธิมนุษยชนมี
ลักษณะบูรณาการ ไม่สามารถแยกส่วนโดยเด็ดขาด และไม่สามารถแยกว่าสิทธิใดมีความสําคัญกว่าอีกสิทธิ
หนึ่ง อย่างไรก็ดี ในกติกาฉบับนี้มี 3 ข้อ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยตรง
• ข้อ 2 ระบุว่า “สิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้จะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ในเรื่อง
เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ซึ่งเป็นประเด็นข้อห้ามการเลือกปฏิบัติจากมิติทางวัฒนธรรม
• ข้อ 13 ระบุว่า “...รัฐภาคีเห็นพ้องกันอีกว่า การศึกษาจะต้องส่งเสริมความเข้าใจความอดกลั้น
และมิตรภาพระหว่างชาติและกลุ่มเชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มศาสนาทั้งปวง และสานต่อไปถึง
กิจกรรมของสหประชาชาติในการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ...”