Page 10 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 10
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 9
และผู้ปกครองไม่มีความชอบธรรมมากกว่า หรือเหนือกว่าผู้อยู่ใต้ปกครองอีกต่อไปแล้ว ผลก็คือ สังคมและผู้
ถูกปกครองมีความชอบธรรมในการจํากัดอํานาจอันเด็ดขาดของกษัตริย์ลงได้ และนํามาสู่การขยายและ
รับรองสิทธิพลเมืองของประชาชนต่อไป (ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, 2549: 28)
สิทธิมนุษยชนในสังคมตะวันตกสมัยใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ (1) สิทธิตามธรรมชาติ
(natural rights) ที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถถ่ายโอนได้ ไม่จําเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ เช่น สิทธิ
ในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก (2) สิทธิที่
ต้องได้รับการรับรองโดยกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐในแต่ละประเทศ เพื่อเป็น
หลักประกันว่าประชาชนจะได้รับการคุ้มครองให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(human dignity) เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในที่อยู่อาศัย เป็นต้น
แนวคิดสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติในช่วงแรก
สงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นว่าแนวคิดเดิมที่เชื่อว่า มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานบางประการที่ควรได้รับ
การคุ้มครองภายใต้กฎหมายนั้นไม่เป็นความจริง ทั้งกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศไม่
สามารถสกัดกั้นการใช้อาวุธร้ายแรง กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันการรุกรานและการปฏิบัติอย่าง
โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมต่อมนุษย์ด้วยกันได้ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2491 องค์การสหประชาชาติจึงได้
รับรองกฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของสหประชาชาติในการทําหน้าที่
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หลังจากนั้นจึงได้มีมติยอมรับและประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 ปฏิญญามีทั้งหมด 30 ข้อ แยกออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-2)
หลักการสําคัญของสิทธิมนุษยชน ส่วนที่ 2 (ข้อ 3-21) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่วนที่ 3 (ข้อ 22-27)
สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และส่วนที่ 4 (ข้อ 28-30) หน้าที่ของบุคคล สังคม และรัฐ ในการ
สร้างหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิตามที่ปรากฏในปฏิญญานี้อย่างจริงจัง
หลักการสิทธิมนุษยชน กําหนดว่า (1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิตามธรรมชาติ ติดตัวมาแต่
กําเนิด (2) สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (3) สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกส่วนว่า
สิทธิใดมีความสําคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง (4) ต้องเคารพความเสมอภาค และการเลือกปฏิบัติถือเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน (5) ประชาชนและประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมในการเข้าถึง และรับประโยชน์จากสิทธิพลเมือง
สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ (6) รัฐต้องมีมาตรการการปกครองประเทศ
โดยใช้หลักนิติธรรมและตรวจสอบได้