Page 99 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 99
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
แรงงานข้ามชาติ (ตามกฎหมายไทยเรียก “แรงงานต่างด้าว”) เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการผลิต
ด้านค่าจ้าง สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้มากและสามารถสกัดกั้นมิให้ลูกจ้างรวมตัวจัดตั้ง
องค์กรหรือเรียกร้องต่อนายจ้าง
การรับเหมาช่วงหลาย ๆ ช่วงจนในที่สุด กระจายไปตามบ้านของผู้ทำการผลิตในรูปแบบของ
ผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือกลุ่มครัวเรือนผู้รับจ้างทำการผลิตที่บ้าน ซึ่งผู้ทำงานไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จ้าง
งานฉันท์นายจ้างกับลูกจ้าง จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคมและกฎหมายเงินทดแทน กลุ่มคนทำงานเหล่านี้มักนิยมเรียก
กันว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งนับวันเป็นกลุ่มแรงงานที่มีจำนวนมากขึ้นและมีจำนวนมากกว่า
ลูกจ้างในระบบ
รูปแบบการจ้างเหมาช่วงนี้ แพร่หลายในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
ดอกไม้ประดิษฐ์ อัญมณี ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
๓) สถานการณ์ปัญหาและรูปแบบการละเมิด จำแนกสาระสำคัญได้ ดังนี้
ก. สัญญาจ้างเหมาค่าแรงที่ละเมิดสิทธิแรงงาน
(๑) ให้อำนาจสถานประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แม้ว่าลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง
มิได้กระทำความผิดใด ๆ ก็ตาม
(๒) ผู้รับเหมาค่าแรงอ้างสัญญาจ้างเหมาที่มีกำหนดระยะเวลา เป็นเงื่อนไขในการทำสัญญา
จ้างแรงงานกับลูกจ้างของตนแบบมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนด้วย เพื่อสร้างความชอบธรรม
แต่แท้ที่จริงมีเจตนาหลีกเลี่ยงความรับผิดตามกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างไม่มีความมั่นคงในการทำงาน
(๓) ให้อำนาจสถานประกอบกิจการเปลี่ยนตัว หรือส่งตัวลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงคืนต้น
สังกัด หรืออาจโยกย้ายสถานที่ทำงานไปที่ใดก็ได้
(๔) ให้ผู้รับเหมาค่าแรงเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพ
การจ้างของลูกจ้างหรือค่าเสียหายจากการจ้างงาน
ในความเป็นจริง ผู้รับเหมาค่าแรงส่วนใหญ่ไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดสวัสดิการให้ลูกจ้างได้
อย่างเป็นธรรม เพราะประกอบกิจการรับจ้างเหมาแรงงานโดยอาศัยผลกำไรจากส่วนต่างของค่าจ้าง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๙๙
Master 2 anu .indd 99 7/28/08 8:58:23 PM