Page 96 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 96
๔
บทที่
การจ้าง และขาดความมั่นคงในการทำงาน วิตกกังวลว่า
นายจ้างจะต่ออายุสัญญาจ้างให้หรือไม่ จึงมักไม่กล้าเรียกร้อง
สิทธิหรือรวมตัวต่อรอง
กรณีตัวอย่าง นายจ้างในกิจการผลิตยางรถยนต์
จังหวัดปทุมธานี ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิด
จากการยื่นข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงาน มีข้อกำหนดใน
ลักษณะที่จำกัดหรือกีดกันสิทธิสำหรับลูกจ้างบางจำพวกใน
บางแผนก เช่น มิให้ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างคราว
ละ ๑ ปี ได้รับเงินโบนัสหรือสวัสดิการในบางข้อ ถือได้ว่า
เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและขัดต่อพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ได้รับมอบหมายซึ่ง
มีหน้าที่รับจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ยังรับจดทะเบียนข้อตกลงดังกล่าว
ลูกจ้างในแผนกคลังยางบางคนได้ทวงสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงถูกเลิกจ้าง
ทันที ลูกจ้างคนอื่นเกรงว่าจะถูกเลิกจ้างเช่นเดียวกันจึงยอมทำสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาคราวละ ๑ ปี
ครั้นถึงกำหนดสิ้นสุดเวลาการจ้างในปีต่อมา ลูกจ้างดังกล่าวจำนวน ๑๘ คน ถูกเลิกจ้างโดย
นายจ้างอ้างว่า ต้องการปรับเปลี่ยนระบบการจ้างงานเป็นการจ้างเหมาค่าแรง นับเป็นการกระทำที่
ทำร้ายจิตใจลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนและไม่มีความมั่นคงในการทำงาน และลูกจ้างไม่กล้าที่จะใช้
สิทธิเรียกร้องหรือต่อรองกับนายจ้างอีกต่อไป
๙๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 96 7/28/08 8:57:53 PM