Page 100 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 100
๔
บทที่
เหมาแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
มีทรัพย์สินและเงินลงทุนไม่มากนัก และประกอบกิจการใน
ลักษณะนายหน้า
จะเห็นได้ว่าสัญญาจ้างเหมาค่าแรงได้ตัดความ
สัมพันธ์ทางการจ้างแรงงานระหว่างสถานประกอบกิจการ
กับลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง ส่วนผู้รับเหมาค่าแรงยอม
เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการบริหารงานบุคคล การแรงงาน
สัมพันธ์ การควบคุมลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรงตั้งแต่
ขั้นตอนรับสมัครงาน คัดเลือก ปฐมนิเทศ เปลี่ยนตัวย้าย
สถานที่ทำงานและลงโทษหรือเลิกจ้าง
ข. เกิดสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม
(๑) สภาพการจ้างในสถานประกอบการที่มีการจ้างเหมาค่าแรงทำให้เกิดสภาพการจ้างที่
หลากหลาย ตามแต่นายจ้างแต่ละรายจะจัดให้ ทั้งๆ ที่ลูกจ้างทั้งหลายได้ทำการผลิตให้สถาน
ประกอบกิจการเหมือนกันหรือในสภาพที่ใกล้เคียงกัน อาจกล่าวได้ว่าคุณภาพฝีมือแรงงานอย่าง
เดียวกันได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกันมาก
(๒) ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงถูกละเมิดมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานฉบับ
ต่าง ๆ เช่น ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดประเพณี ไม่ได้รับค่าล่วง
เวลา ลาป่วยจะถูกหักค่าจ้าง และถูกหักเงินค่าจ้างเพื่อจ่ายค่าชุดทำงาน อุปกรณ์ความปลอดภัยในการ
ทำงาน และเงินประกันการทำงาน ไม่ยอมรับการใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้องหรือเจรจาต่อรองเกี่ยวกับ
สภาพการจ้าง ไม่แจ้งชื่อลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน หักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างแต่ไม่นำส่งสำนักงาน
ประกันสังคม หรือหลีกเลี่ยงการแจ้งชื่อลูกจ้างเข้ากองทุนประกันสังคมหรือกองทุนเงินทดแทน
ค. ผลกระทบต่อลูกจ้างและองค์กรลูกจ้าง แยกพิจารณาได้ ดังนี้
(๑) ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง
• ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือสวัสดิการอื่นๆที่สถาน
ประกอบกิจการจัดให้กับลูกจ้างของตนทั้ง ๆ ที่ทำงานเหมือนกัน
• เกิดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ลาป่วย วันหยุดพักผ่อนประจำปี
วันหยุดประเพณี การหักเงินประกันการทำงาน
• ถูกหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมส่วนของลูกจ้าง แต่นายจ้าง (ผู้รับเหมาค่าแรง)
ไม่นำส่งสำนักงานประกันสังคม ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ
• ถูกลงโทษโดยการหักเงิน เมื่อทำผิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแม้เพียงเล็กน้อย
• ถูกหักเงินค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการทำงาน เช่น ชุดทำงาน รองเท้า ถุงมือ ฯลฯ
• ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน เช่น ทำงานภายใต้สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา
ถูกเปลี่ยนตัว หรือส่งตัวคืนหรือย้ายสถานที่ทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข
๑๐๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 100 7/28/08 8:58:26 PM