Page 97 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 97
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ลูกจ้างที่ทำงานภายใต้สัญญาจ้าง
ดังกล่าวนี้ มักจะไม่กล้าสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
เข้าร่วมกิจกรรมกับสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะในสถานประกอบ
กิจการที่นายจ้างยังไม่ยอมรับสหภาพแรงงาน (รายงานผลการ
ตรวจสอบที่ ๔๑๖/๒๕๕๐ กรณี นายฉลอม โค้งนอกผู้ร้อง
บริษัท กูดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกร้อง)
นายจ้างที่เป็นผู้รับเหมาค่าแรง และส่งลูกจ้างของตนไป
ทำงานในกระบวนการผลิตของสถานประกอบกิจการต่าง ๆ
มักจะทำสัญญาจ้างระยะสั้นกับลูกจ้าง เป็นเวลา ๑ เดือน ๓ เดือน ๖ เดือน และ ๑ ปี เช่น บริษัท
นากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กำหนดระยะเวลาการ
จ้างเหมาค่าแรง คราวละ ๒๕ วัน
(๒) การจ้างเหมาค่าแรงและการจ้างเหมาช่วง
๑) รูปแบบการจ้างเหมาค่าแรงในสถานประกอบกิจการ
ก. สถานประกอบกิจการ จะว่าจ้างบุคคลหรือ นิติบุคคล ให้ดำเนินการจัดหาลูกจ้างของตนเอง
เข้ามาทำงานในสถานประกอบกิจการของผู้ว่าจ้าง ตามลักษณะงานและจำนวนที่ตกลงกันเพื่อทำงาน
ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยเหมาจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ เป็นรายหัวตามจำนวนลูกจ้างที่นำเข้ามา
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๙๗
Master 2 anu .indd 97 7/28/08 8:58:03 PM