Page 94 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 94

๔
        บทที่






                    ในระหว่างการไกล่เกลี่ย  นายจ้างมี
              พฤติการณ์เร่งรัดให้เหตุการณ์ไปสู่ขั้นตอน
              การใช้สิทธิปิดงานโดยเร็ว ซึ่งลูกจ้างจะได้รับ
              ความเดือดร้อนเพราะไม่ได้รับค่าจ้าง  โดย
              เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สหภาพแรงงานไม่มี
              กองทุนสนับสนุนการนัดหยุดงาน
                    ผลปรากฏว่า นายจ้างไม่ยินดีเจรจา
              และใช้วิธีการแก้ไขปัญหาโดยการว่าจ้างให้
              บริษัทรับเหมาค่าแรงเข้ามาทำการผลิตใน

              ระหว่างปิดงาน และฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ให้มีการจ้างเหมาค่าแรงได้เพียง ๒ ราย มี
              ลูกจ้างไม่เกิน  ๓๕๐  คน  โดยได้ว่าจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรง  จำนวน  ๕  ราย  มีลูกจ้างรวมกัน
              ประมาณ ๕๐๐ คน อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาเปรียบสหภาพแรงงานและลูกจ้างซึ่งเป็นความผิด
              ทางอาญาด้วย (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๘๕/๒๕๕๐ นายประวิทย์ โพธิ์หอม ผู้ร้อง บริษัท
              นากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ถูกร้อง)

              	     (๖) นายจ้างในกิจการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานอยู่แผนก

              อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ประจำ ต่อมาลูกจ้างถูกกล่าวหาว่าไม่ทำตามคำสั่ง ทั้งๆ ที่ไม่มีคำสั่งจริง นายจ้าง
              ได้สอบสวนข้อเท็จจริงแต่กลับไม่รับฟังข้อเท็จจริงจากลูกจ้าง
                    สาเหตุที่ถูกกลั่นแกล้งเนื่องจากลูกจ้างได้ร่วมกับสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
              คอมพิวเตอร์ เรียกร้องให้นายจ้างปรับลูกจ้างชั่วคราวประมาณ ๓๐๐ คน เป็นลูกจ้างประจำ และเป็น
              กรรมการลูกจ้างที่มีบทบาทสำคัญ
                    ฝ่ายบริหารได้เรียกลูกจ้างไปพบและแจ้งว่านายจ้างไม่ต้องการให้ทำงานอีกต่อไป  พร้อมทั้ง
              เสนอเงินจำนวนหนึ่งให้ แต่ลูกจ้างปฏิเสธ ต่อมามีการเพิ่มยอดเงินที่เสนอจ่ายหากลาออก แต่ลูกจ้าง
              ยืนกรานปฏิเสธ  นายจ้างจึงมีคำสั่งว่าไม่ต้องมาทำงาน  แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติจนกว่า

              ศาลแรงงานกลางธัญบุรีจะมีคำสั่งให้เลิกจ้าง (รายงานผลการตรวจสอบที่  ๓๐๒/๒๕๕๐  กรณี
              นายตุลา ไวยจินดา ผู้ร้อง บริษัท ซี เค แอล อิเล็กทรอนิคส์ จำกัด ผู้ถูกร้อง)

              	     (๗) ความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างในกิจการขนส่งนักท่องเที่ยว สืบเนื่องมาจาก
              การเปลี่ยนผู้บริหาร ประกอบกับเกิดวิกฤตโรคซาร์ส จนนายจ้างต้องใช้วิธีการลดค่าจ้างหรือสวัสดิการ
              ต่าง ๆ แต่เนื่องจากนายจ้างขาดวิธีการในการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกจ้าง หรือรีบด่วนรับปากว่า
              จะคืนเงินให้ลูกจ้างแต่ไม่อาจทำตามที่รับปากไว้ได้ ทำให้ลูกจ้างไม่พอใจและไม่เชื่อถือ จนนำไปสู่การ
              ยื่นข้อเรียกร้องและการจัดตั้งสหภาพแรงงานทั้ง ๓ บริษัท ฯ เมื่อสหภาพแรงงานและลูกจ้างได้ดำเนิน

              คดีต่อศาลแรงงานในประเด็นค่าล่วงเวลา  ลูกจ้างจึงไม่ได้ขับรถทำให้สูญเสียรายได้จำนวนมาก
              (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๑๔/๒๕๕๐ กรณี นายสุรพล เฮงไทร ผู้ร้อง บริษัท เฟิสท์ ทรานสปอร์ต
              จำกัด กับพวก รวม ๓ ราย ผู้ถูกร้อง)


        ๙๔    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   94                                                                      7/28/08   8:57:27 PM
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99