Page 104 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 104

๔
        บทที่






              
     มูลเหตุการละเมิดสิทธิแรงงานคนทำงานภาคเอกชน






































              
     รายงานฉบับนี้ได้จำแนกปัจจัยที่เป็นมูลเหตุการละเมิดสิทธิ  เป็น  ๓  ด้านคือ  ด้านนายจ้าง
              กฎหมายและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และนโยบายของรัฐ มีสาระสำคัญ ดังนี้


              
     ก. ปัจจัยด้านนายจ้าง

                    ในประเด็นนี้ พบว่าปัจจัยของกระแสโลกาภิวัตน์ การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ เจตคติ
              นโยบายทางธุรกิจของนายจ้าง ตลอดจนทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย มีส่วนสำคัญในการละเมิดสิทธิ
              แรงงาน มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    (๑) สืบเนื่องจากการแข่งขันทางการค้าเพื่อกำไรสูงสุดและการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
              สิทธิแรงงาน  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และการคำนึงแต่ผลประโยชน์หรือทางอยู่รอดของฝ่าย
              ผู้ประกอบการเป็นสำคัญ จึงเกิดการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานหรือมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำจำนวนสูงมาก

                    นอกจากนี้ มีการใช้รูปแบบการจ้างงานยืดหยุ่นหรือการจ้างงานระยะสั้นที่มีเจตนาหลบเลี่ยง
              กฎหมายแรงงาน
                    (๒) เนื่องจากกระทรวงแรงงานและรัฐบาลขาดยุทธศาสตร์และมาตรการในการคุ้มครองแรงงาน
              อย่างจริงจัง เกิดปัญหาเรื้อรัง ลูกจ้างจึงต้องเร่งจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหา แต่นายจ้างไม่
              ยอมรับการใช้สิทธิดังกล่าว และหาทางคุกคามหรือกลั่นแกล้ง ประกอบกับนายจ้างขาดความเข้าใจ


        ๑๐๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   104                                                                     7/28/08   9:00:01 PM
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109