Page 98 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 98

๔
        บทที่














































              	     	 ข. “ผู้รับจ้างหรือรับเหมาแรงงาน” จะรับผิดชอบเรื่องการบริหารและการจัดการงานบุคคล
              การบังคับบัญชา วินัยและการลงโทษ งานธุรการ งานบัญชีและการเงิน เป็นต้น ในฐานะนายจ้าง
              โดยใช้เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์การผลิต อุปกรณ์ความปลอดภัย ของผู้ว่าจ้างทั้งหมดหรือบางส่วน
              ตามแต่จะตกลงกัน และใช้สถานที่ทำงานของสถานประกอบการผู้ว่าจ้าง แต่ในความเป็นจริงการ
              ควบคุมสั่งการเป็นของสถานประกอบกิจการ
                      รูปแบบการจ้างเหมาค่าแรงดังกล่าวนี้ พบในทุกสาขาของอุตสาหกรรม แต่มีจำนวนมากใน
              อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเลคทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และเสื้อผ้า

              สำเร็จรูปและสิ่งทอ
              	     	 ๒) รูปแบบการจ้างงานเหมาช่วงออกนอกสถานประกอบกิจการ
                      มีการจ้างเหมาช่วงงานกันหลายช่วง กล่าวคือ ผู้รับเหมางานออกมาทำการผลิตนอกสถาน
              ประกอบกิจการ เมื่อเหมางานแล้วมิได้ทำการผลิตเอง มอบหมายให้ผู้รับเหมาอื่นมารับเหมาช่วงงาน
              ไปทำการผลิต  โดยแสวงหาผลประโยชน์จากส่วนต่างของค่าจ้างเหมางานโดยไม่ต้องทำการผลิต
              ลูกจ้างที่ทำงานในขั้นตอนปลายทางของสายการผลิตยิ่งได้รับค่าจ้างน้อยลงเรื่อยๆ และเป็นการยากยิ่ง
              ที่นายจ้างในขั้นตอนปลายทางจะให้สวัสดิการหรือสภาพการจ้างที่ดีแก่ลูกจ้างของตนได้

                    การจ้างเหมาช่วงได้กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั้งในส่วนภูมิภาคและจังหวัดแถบชายแดน
              ติดต่อกับประเทศ พม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อสะดวกในการจ้างและเอาเปรียบแรงงานในชนบทและ


        ๙๘    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   98                                                                      7/28/08   8:58:10 PM
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103