Page 101 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 101

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน








































              	     •	 ไม่สามารถจัดตั้งองค์กรหรือเจรจาต่อรองได้ในทางปฏิบัติ  เพราะอาจถูกโยกย้ายสถานที่
              ทำงาน ส่งตัวคืนหรือเปลี่ยนตัว
              	     •	 ขาดการพัฒนาความรู้ทักษะฝีมือในการทำงาน  เพราะจะถูกโยกย้ายสถานที่ทำงานตาม
              ความต้องการของสถานประกอบกิจการหรือผู้รับเหมาค่าแรงได้ตลอด

              	     (๒) ลูกจ้างของสถานประกอบการที่จ้างเหมาค่าแรง
              
     
 •	ขาดดุลอำนาจต่อรองเนื่องจากมีกลุ่มลูกจ้างกับนายจ้างหลายกลุ่ม มีสภาพการจ้างที่แตก
              ต่างกันไปแต่ละราย ยากแก่การกำหนดสภาพการจ้างให้เหมาะสมเป็นธรรมได้ หากชักชวนลูกจ้างใน
              ระบบเหมาค่าแรงมารวมตัวหรือต่อรอง สถานประกอบการจะสั่งการให้ย้ายสถานที่ทำงานหรือเปลี่ยน

              ตัวตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรง  หรือต่อรองกับสหภาพแรงงานให้ถอนข้อเรียกร้องมิฉะนั้นจะเพิ่ม
              จำนวนลูกจ้างเหมาค่าแรง
              	     	 •	มีภาระรับผิดชอบฝึกสอนงาน หรือซ่อมงานให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงนอกเหนือจากงานปกติ

              	     (๓) สหภาพแรงงานหรือองค์กรลูกจ้าง
              	     	 •	องค์กรลูกจ้างขาดความเข้มแข็งเนื่องจากอำนาจในการเจรจาต่อรองลดลง เพราะลูกจ้าง
              ของผู้รับเหมาค่าแรงที่ทำงานในสถานประกอบการไม่สามารถเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆได้ เช่น การ

              เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การยื่นข้อเรียกร้องหรือใช้สิทธินัดหยุดงาน ส่วนนายจ้างสามารถปิดงาน
              และมักจะจ้างผู้รับเหมาค่าแรงให้ทำการผลิตตามปกติ ทำให้การใช้สิทธินัดหยุดงานของลูกจ้างหรือ
              สหภาพแรงงานไร้พลังในการต่อรอง


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๐๑





     Master 2 anu .indd   101                                                                     7/28/08   8:58:37 PM
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106