Page 93 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 93

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






                    ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเพื่อให้ผู้นำลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างโดยมิชอบด้วย
              กฎหมาย กล่าวคือ ได้ร่วมกับลูกจ้างของผู้ว่าจ้างที่เป็นผู้ควบคุมงาน รวบรวมรายชื่อและลายมือชื่อ
              ของลูกจ้างเพื่อปลดกรรมการลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในกระดาษที่ได้จัดเตรียมไว้และด้าน
              บนกระดาษระบุข้อความว่า รายชื่อปลดกรรมการลูกจ้าง ไม่มีการประชุมลูกจ้าง เพื่อนำเสนอข้อมูล
              หรือเหตุผลในการปลด  และรับฟังข้อโต้แย้งก่อนที่จะลงมติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน
              สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๔๘
                    นอกจากนี้ ยังได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องกรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งให้นายจ้างทราบในทันที
              และนายจ้างก็ได้เลิกจ้างผู้นำลูกจ้างทันที แต่กลับแจ้งเรื่องดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการ
              และคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ในภายหลังอีก ๓ วันต่อมา

                    เห็นว่า  ผู้บังคับบัญชาเสมือนเป็นตัวแทนของนายจ้าง  จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต  ไม่มี
              ประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว แต่กรณีนี้เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการ
              ของนายจ้างที่ไม่ต้องการให้มีสหภาพแรงงาน  และนำบุคคลภายนอกมาร่วมดำเนินการด้วยโดย
              ไม่สุจริต  และไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.  ๒๕๑๘  (รายงานผลการ
              ตรวจสอบ กรณี บริษัท มิตเฟรท จำกัด ผู้ถูกร้อง อ้างแล้ว)

              	     (๔) นายจ้างในกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน ๙ คน

              เพราะเหตุลูกจ้างเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงาน หลังจากได้รับการเลือกตั้งเพียง ๑ วัน
              ซึ่งนายจ้างเคยเลิกจ้างคณะกรรมการสหภาพแรงงานชุดแรกทั้งคณะมาแล้ว โดยจ่ายค่าตอบแทนเพิ่ม
              เติมนอกเหนือจากค่าชดเชยตามกฎหมาย และให้ลูกจ้างจำนวน ๑๑๙ คน ลาออกโดยจ่ายค่าชดเชย
              ให้ตามกฎหมาย ในจำนวนนั้นเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน ๑๐๗ คน
                    ส่วนเหตุผลที่นายจ้างอ้างเรื่องโรคซาร์ส  และลูกค้าลดลงไม่มีเหตุผลและพยานหลักฐาน
              เพียงพอ ประกอบกับฝ่ายนายจ้างชี้แจงว่าได้ทำบัญชีลูกจ้างที่จะต้องปลดออก จำนวน ๒๒ คนไว้
              ก่อนที่จะเดินทางไปสำรวจตลาดในต่างประเทศแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการเจาะจงเลิกจ้างลูกจ้างทั้ง ๒๒
              คน  เพราะเหตุที่ลูกจ้างดังกล่าวเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานสหภาพแรงงานต่อไป

              ประกอบกับแถลงการณ์ร่วมของสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หอการค้าจังหวัด
              ภูเก็ต  และสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้  ระบุชัดเจนถึงการที่องค์กรดังกล่าวไม่ยอมรับการ
              จัดตั้งสหภาพแรงงานในจังหวัดภูเก็ต  (รายงานผลการตรวจสอบที่  ๑๐๕/๒๕๕๐  กรณี
              นายเจษฎา กลับเกตุ ผู้ร้อง บริษัท ไดมอนด์คลิฟ จำกัด ผู้ถูกร้อง)

              	     (๕)  นายจ้างในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มีเจตนายื่น
              ข้อเรียกร้องสวนทางในลักษณะกีดกัน เลือกปฏิบัติ และมีสภาพการจ้างหลายมาตรฐานใน
              สถานประกอบการ  ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมานายจ้างไม่เคยยื่นข้อเรียกร้องสวนทางเลย  ทั้งนี้

              เพื่อกดดันให้สหภาพแรงงานจำยอมตามเงื่อนไขของนายจ้าง  ทำให้ลูกจ้างลาออกจากสมาชิก
              สหภาพแรงงาน เพราะจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ทำให้เกิด
              แตกความสามัคคี และทำลายบรรยากาศหรือระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๙๓





     Master 2 anu .indd   93                                                                      7/28/08   8:57:15 PM
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98