Page 91 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 91

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






                    นายจ้างยอมรับว่า การประกาศห้ามมิให้ลูกจ้างเข้าร่วมชุมนุมเป็นการกระทำที่รุนแรงเกินไป‰
              แต่กระทำไปเพื่อการปรามเท่านั้น กรณีนี้ คณะอนุกรรมการ ฯ สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่าย
              เข้าใจและเคารพการใช้สิทธิของแต่ละฝ่าย เนื่องจากนายจ้างไม่มีอำนาจที่จะจำกัดเสรีภาพของลูกจ้าง
              ในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในเวลาพักหรือนอกเวลางานแม้จะสวมใส่ชุดพนักงานก็ตาม
              	     อย่างไรก็ตาม จากการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการ ฯ นายจ้างได้ย้ายลูกจ้างกลับ
              ไปยังที่เดิมแล้ว (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๒๒๑/๒๕๕๐ กรณี นางศศิมาภรณ์ กรุณาหลาย
              ผู้ร้อง บริษัท กรุงเทพเซอร์เว็กซ์ จำกัด ผู้ถูกร้อง)


              
     นายจ้างติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและกีดกันมิให้ประธานสหภาพแรงงาน  ลางานเพื่อ
              เข้าร่วมอบรมความรู้ด้านแรงงาน เนื่องจากลูกจ้างเรียกร้องให้ปลดผู้จัดการฝ่ายบุคคล นอกจากนี้
              นายจ้างใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเฝ้าดูพฤติกรรมของลูกจ้าง  มีการเฝ้ามองกิริยาอาการและ
              อิริยาบถของลูกจ้างตลอดเวลา ทำให้เกิดความอึดอัดมากและรู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
                    ส่วนเรื่องการลางานเพื่ออบรมความรู้นั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
              มีหนังสือขอความร่วมมือนายจ้าง  โดยระบุชื่อประธานสหภาพแรงงานเป็นผู้เข้าร่วมสัมมนา
              จำนวน ๓ ครั้ง ในเดือนสิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน ๒๕๔๖ แต่นายจ้างกลับอนุญาตให้
              บุคคลอื่นไปสัมมนาแทนทั้ง ๓ ครั้ง ทั้ง ๆ ที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นสิทธิตาม

              พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๖
                    นายจ้างพึงตระหนักว่า  การอบรมสัมมนาความรู้ด้านแรงงานมิได้ก่อประโยชน์เฉพาะแต่
                                                     สหภาพแรงงานเท่านั้น  แต่รวมถึงนายจ้างและระบบ
                                                     แรงงานสัมพันธ์โดยรวมด้วย
                                                     	     นายจ้างบริหารจัดการโดยไม่เหมาะสมและ
                                                     เกินจำเป็น  เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต  และละเมิด
                                                     สิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างและเป็นการกีดกันสหภาพ
                                                     แรงงานในการเข้าถึงความรู้ด้านแรงงาน  (รายงาน

                                                     ผลการตรวจสอบที่ ๔๘/๒๕๔๙ กรณีนายณรงค์ชัย
                                                     จันทร์โย่ง ผู้ร้อง บริษัท อเบโน การพิมพ์ จำกัด
                                                     ผู้ถูกร้อง)†
                                                           เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินงานหรือ
                                                     การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสหภาพแรงงาน  ใน
                                                     สถานประกอบการนั้น  พบว่า  ยังมีการละเมิดหรือ
                                                     จำกัดสิทธิของลูกจ้างอีกหลายลักษณะ เช่น นายจ้าง

                                                     ในกิจการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และในกิจการ
                                                     ผลิตแกส ออกระเบียบห้ามมิให้สหภาพแรงงานหรือ
                                                     ลูกจ้างปิดประกาศหรือแจกจ่ายเอกสารใด  ๆ  ใน
                                                     โรงงานหรือในอาณาบริเวณบริษัท ฯ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๙๑





     Master 2 anu .indd   91                                                                      7/28/08   8:56:53 PM
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96