Page 89 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 89
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
นายจ้างในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดระยอง ไม่ยอมรับที่ลูกจ้างเข้าร่วมเป็น
สมาชิกสหภาพแรงงานประเภทกิจการ เพราะเห็นว่า เป็นการนำบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับ
เรื่องภายในสถานประกอบกิจการ นายจ้างได้เสนอสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้าง
ทั้ง ๆ ที่อยู่ในห้วงเวลาการเจรจาต่อรอง เพื่อให้ลูกจ้างถอนตัวจากการเรียกร้อง มีการกระทำเพื่อให้
ลูกจ้างออกจากงานหรือลาออกจากสมาชิก
มีประกาศของนายจ้างที่อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็นฝ่ายที่ทำให้นายจ้าง
เสียหาย ก่อให้เกิดความแตกแยกและทำให้ระบบแรงงานสัมพันธ์เสียหาย อันเป็นการขัดขวางการใช้
สิทธิของลูกจ้างในการเข้าร่วมองค์กรและการเจรจาต่อรอง
สหภาพแรงงานและนายจ้างได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานให้นายจ้าง
จัดการให้ลูกจ้างที่ถูกปิดงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ แต่นายจ้างกลับไม่ให้ลูกจ้างเข้า
ทำงานแต่ยอมจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ ให้ ซึ่งฝ่าฝืนข้อตกลงฉบับดังกล่าวอยู่ดี อีกทั้งเป็นการ
ปฏิบัติในลักษณะเหมารวมต่อลูกจ้างที่ถูกปิดงาน
นอกจากนี้ ยังได้จัดอบรมลูกจ้างที่ถูกปิดงาน จำนวน ๒๖๐ คน อ้างว่า ลูกจ้างมีพฤติการณ์
ไม่น่าไว้วางใจ เนื้อหาในการอบรมมีจำนวนมาก ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีหลักเกณฑ์การประเมินผล
การอบรมไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่นายจ้างอ้างไม่เคยปรึกษาหารือลูกจ้างที่จะเข้าอบรมเลย
อีกทั้งไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดในการอบรม
ส่วนสถานที่อบรมเป็นห้องประชุมของอำเภอปลวกแดง มีตู้น้ำร้อนและน้ำเย็น จำนวน ๒ ตู้
บางวันมีน้ำให้ดื่ม หากวันใดไม่มีแม่ค้ามาขายอาหารก็จะต้องเดินไปซื้ออาหารระยะทางไกลมาก
ลูกจ้างลำบากและเดือดร้อนเป็นอันมาก เป็นการจัดอบรมที่มีเจตนาแอบแฝง เพื่อประวิงเวลาหรือเป็น
ข้ออ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างที่ถูกปิดงานได้ทำงานตามปกติ เป็นการแบ่งแยกและกีดกันลูกจ้างที่ถูกปิดงาน
จากลูกจ้างที่ไม่ถูกปิดงาน และกดดันให้ลูกจ้างลาออกจากงาน
นอกจากนี้ นายจ้างยังได้นำทหารสังกัดกองทัพเรือเข้ามาในสถานประกอบกิจการ ใน
ระหว่างที่มีการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้าง ฝ่ายบริหารได้นำทหารและขับรถ
ตระเวนรอบ ๆ สถานประกอบกิจการ เพื่อกดดันหรือทำให้ลูกจ้างหวั่นวิตกในการเจรจาต่อรอง
(รายงานผลการตรวจสอบที่ ๑๐๑/๒๕๕๐ กรณีนายสมศักดิ์ สุขยอด ผู้ร้อง บริษัท ไทยซัมมิท
อีสเทิร์น ซีบอร์ด โอโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้ถูกร้อง)
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๘๙
Master 2 anu .indd 89 7/28/08 8:56:41 PM