Page 88 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 88
๔
บทที่
นายจ้างในกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬา จังหวัด
ระยอง ได้โยกย้ายประธานสหภาพแรงงานไปทำงานใน
หน่วยงานใหม่ โดยให้ทำงานอยู่เพียงคนเดียว กั้นบริเวณที่
ทำงานของลูกจ้างเป็นคอกพร้อมติดป้าย “ห้ามเข้าก่อนได้
รับอนุญาต” อ้างว่า เนื่องจากเป็นงานผลิตที่สำคัญ และ
ลูกจ้างขัดแย้งกับหัวหน้างาน
จากการตรวจสอบพบว่า งานเย็บลูกบอลไม่มีความลับ
สำคัญเกี่ยวกับการผลิต เคยว่าจ้างให้ผู้รับเหมาค่าแรงทำ
เชื่อว่านายจ้างไม่พอใจสหภาพแรงงาน จึงต้องการทำร้ายจิตใจผู้นำและทำให้อับอาย หรือกระทำ ชื่อว่านายจ้างไม่พอใจสหภาพแรงงาน จึงต้องการทำร้ายจิตใจผู้นำและทำให้อับอาย หรือกระทำ
เ
เพื่อส่งสัญญาณไปยังสมาชิกสหภาพ แรงงานหรือลูกจ้างที่เห็นด้วยกับสหภาพแรงงาน มิให้สมัคร
เป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน
ผู้จัดการฝ่ายผลิตได้แทรกแซงสหภาพแรงงาน กดดันให้ลูกจ้างลาออกจากสมาชิก ประกอบกับ
นายจ้างชี้แจงชัดเจนว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ
เนื่องจากมีความสัมพันธ์แบบครอบครัว การดำเนินงานของกรรมการสหภาพแรงงานมิใช่บทบาท
ที่ควรจะเป็น ไม่เหมาะสมและนายจ้างไม่อาจยอมรับได้
นอกจากนี้ นายจ้างยังมิได้จัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการลูกจ้าง อย่างน้อย ๓ เดือนต่อครั้ง
ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานเข้ามาแก้ไขปัญหาจึงยอมจัดประชุม (รายงานผลการ
ตรวจสอบที่ ๘๗/๒๕๕๐ อ้างแล้ว)
๘๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 88 7/28/08 8:56:31 PM