Page 86 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 86

๔
        บทที่






                    ลูกจ้างจึงได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม ลูกจ้าง
              เป็นฝ่ายชนะ นายจ้างได้ฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อศาลแรงงาน และได้
              เริ่มฟ้องคดีอาญา ลูกจ้างมีภาระในการว่าจ้างทนายความและต้องประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี แต่ในที่สุด
              ศาลก็พิพากษาว่าลูกจ้างไม่ผิด
              	     ในกรณีนี้ สหพันธ์แรงงานกิจการปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ได้ประสานงานกับองค์กร
              แรงงานในต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าว จนในที่สุดนายจ้างยอมรับลูกจ้าง
              กลับเข้าทำงาน  พร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน  และได้
              ปรับค่าจ้างให้เสมือนลูกจ้างได้ทำงานตามปกติด้วย (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๘/๒๕๔๘

              นายฉัตรชัย ไพยเสน ผู้ร้อง บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแกส จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกร้อง)
              	     นายจ้างในกิจการผลิตอุปกรณ์ไฟฟา ทราบว่า ลูกจ้างได้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน
              และเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง จึงได้สั่งการให้บริษัทฯ ด้านรักษาความปลอดภัย ตรวจ
              ปัสสาวะลูกจ้างเพื่อหาสารเสพติดโดยผู้ทำการตรวจเป็นอดีตเจ้าพนักงานตำรวจ  ไม่มีเจ้าหน้าที่
              สาธารณสุขร่วมด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีพฤติการณ์ใด ๆ ที่เป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจหา
              สารเสพติดเลย และไม่พบสารเสพติดแต่อย่างใด
                    เมื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่า กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานปราบปรามยาเสพติด
              เป็นผู้มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบหรือส่งให้รับการตรวจ หรือทดสอบว่าบุคคลใดมีสารเสพติดให้โทษ

              ในร่างกายหรือไม่ ดังนั้น ถ้าบริษัทเอกชนจะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
              และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับการตรวจ อย่างไรก็ตามในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง
              กับลูกจ้างนั้น ลูกจ้างเป็นฝ่ายเสียเปรียบ  และอยู่ในฐานะต้องพึ่งพานายจ้าง  ความยินยอมจึงมัก
              เป็นความจำยอม วิธีการตรวจสารเสพติดจึงกลายเป็นเครื่องมือที่นายจ้างใช้กลั่นแกล้งลูกจ้างได้
                    นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อไม่พบสารเสพติด เจ้าหน้าที่ที่ตรวจปัสสาวะได้เข้าไป
              ตรวจห้องพักของลูกจ้างที่เป็นแกนนำเกี่ยวกับการนำลังพลาสติกไปใช้ด้วย  ซึ่งเป็นพฤติกรรม
              นอกเหนือจากการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด  จึงเป็นการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
              และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
                    เกี่ยวกับคดีอาญาข้อหาลูกจ้างลักลังพลาสติกนั้น  พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่

              ฟองคดี เพราะเป็นการนำลังพลาสติกไปใส่น้ำไว้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเวลาน้ำไม่ไหล





















        ๘๖    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   86                                                                      7/28/08   8:56:00 PM
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91