Page 87 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 87

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน































                                                 จึงขาดเจตนาลักทรัพย์  พนักงานอัยการก็สั่งไม่ฟอง
                                                 เช่นเดียวกัน  คดีอาญาจึงเป็นอันยุติ  นับเป็นกรณีที่
                                                 พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีอาญาตาม
                                                 เจตนารมณ์ของกฎหมายและสามารถปกป้องผู้บริสุทธิ์ได้

                                                 แตกต่างจากที่ผ่านมา มีบางกรณีที่ยึดหลักว่า เมื่อมีผู้แจ้ง
                                                 มีทรัพย์ของกลาง  ก็จะสั่งฟ้องคดี  และเป็นหน้าที่ของ
                                                 ผู้ต้องหาต้องไปต่อสู้คดีในชั้นศาล  ซึ่งเป็นภาระแก่ลูกจ้าง
              เป็นอันมาก ส่วนใหญ่จึงจำยอมรับสารภาพให้จบเรื่องไป (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๗/๒๕๔๙
              นางแดง รัตน์สีวอ ผู้ร้อง บริษัท ดาต้าเพาเวอร์ จำกัด และเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจ
              ภูธรอำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม ผู้ถูกร้อง)
                    นายจ้างอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดต่อระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง
              รวมกันหลาย ๆ ข้อ ในลักษณะเหวี่ยงแห ซึ่งหลายประเด็นนายจ้างก็ไม่อาจชี้แจงหรือแสดงพยาน
              หลักฐานได้  และอ้างความผิดร้ายแรงทุกกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้  เพื่อต่อสู้คดีในข้อกฎหมาย

              ให้ยืดยาวจนถึงศาลฎีกา (รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๙๕/๒๕๔๙ นายประทุม พุ่มเผือก ผู้ร้อง
              ห้างหุ้นส่วน จำกัดเทร็นด์ส (ประเทศไทย) ผู้ถูกร้อง กรณี บริษัท บางกอก  อีสเทิร์นคอย
              เซนเตอร์ จำกัด และมีอีกหลายกรณี)
              	     กรณีนายจ้างในกิจการสิ่งทอไม่ยอมรับการยื่นข้อเรียกร้อง  พนักงานประนอมข้อพิพาท
              แรงงานไกล่เกลี่ยจำนวน ๙ ครั้ง จนสามารถได้ข้อยุติ แต่ในที่สุดนายจ้างไม่ยอมลงนามในข้อตกลง
              เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ในระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยนายจ้างได้ออกประกาศว่าลูกจ้างที่เข้าทำงานใน
              ระหว่างการนัดหยุดงาน นายจ้างจะพิจารณาความดีความชอบให้ และหัวหน้างานทั้งจูงใจและกดดัน

              ให้ลูกจ้างเลิกเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานและการเรียกร้อง  โดยสัญญาว่าจะพิจารณาความดี
              ความชอบให้  (รายงานผลการตรวจสอบที่  ๙๖/๒๕๔๙  นางสาวชลธิชา  คำมันตรี  ผู้ร้อง
              บริษัท อาริยะการทอ จำกัด ผู้ถูกร้อง)


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๘๗





     Master 2 anu .indd   87                                                                      7/28/08   8:56:16 PM
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92