Page 85 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 85
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
ลูกจ้างได้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก่อนที่จะมาร้องเรียนและเป็นประเด็นเดียวกัน กสม. จึงไม่มี
อำนาจตรวจสอบ
นอกจากนี้ ยังมีนายจ้างในกิจการสิ่งทอ ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุข้อขัดข้องในการประกอบ
ธุรกิจหรือการตลาด เช่น คำสั่งซื้อลดลง ถูกตัดโควต้าสินค้า คนล้นงาน ต้องจัดโครงสร้างองค์กรใหม่
โดยยินดีจ่ายเงินค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย แต่กลับนำงานไปจ้างแก่ผู้รับเหมา
ช่วง ลูกจ้างส่วนหนึ่งจำยอมลาออก ส่วนที่ไม่ยอมลาออกจึงถูกเลิกจ้าง
อีกกรณีหนึ่ง นายจ้างต้องการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาการทำงาน แต่ถูกลูกจ้างที่เป็นผู้นำ
คัดค้าน ลูกจ้างจึงได้จัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องสิทธิลูกจ้าง เหตุที่ไม่อาศัยคณะกรรมการ
สวัสดิการและหารือร่วม เพราะเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่คล้อยตามนายจ้าง จึงถูกนายจ้างเลิกจ้าง อ้าง
เหตุผลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรและหน่วย
งาน เมื่อสหภาพแรงงานได้แจกจ่ายเอกสารแก่
สมาชิกที่ทางเท้าบริเวณถนนหน้าโรงงาน กลับถูก
เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองอ้อมน้อยจับกุมดำเนิน
คดีอาญา ข้อหาแจกจ่ายเอกสารหรือใบปลิวเกิด
ความสกปรกในที่สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติ
รักษาความสะอาดและความเรียบร้อยของบ้าน
เมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๐
ทั้งสองกรณีนี้ นายจ้างยอมรับลูกจ้างกลับ
เข้าทำงาน เนื่องจากมีความพยายามเคลื่อนไหว
ระหว่างประเทศโดยอาศัยจรรยาบรรณทางการค้า (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๙๕/๒๕๔๙
นางสาวประทุม พุ่มเผือก ผู้ร้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทร็นด์ส (ประเทศไทย) ผู้ถูกร้อง และ
รายงานผลการตรวจสอบที่ ๑๔๔/๒๕๕๐ นายคงฤทธิ์ งามสง่า ผู้ร้อง บริษัท ไทยการ์เม้นท์
เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง)
นายจ้างในกิจการผลิตแกส มีหน่วยงานผลิตที่จังหวัดระยองและจังหวัดสระบุรี เมื่อ
ได้รับข้อเรียกร้องและทราบข่าวการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ก็ได้สั่งห้ามตัวแทนลูกจ้างในการเจรจา
เข้าทำงาน และนำภาพถ่ายของลูกจ้างไปปิดประกาศไว้ ณ หน่วยงานของนายจ้าง อ้างว่าอาจจะเกิด
เหตุอันตรายหรือจะเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง แต่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรีได้
มีหนังสือถึงนายจ้างชี้แจงให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
ได้ นายจ้างจึงยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานได้ตามปกติ
แต่ต่อมานายจ้างก็ได้เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน อ้างเหตุว่าลักทรัพย์นายจ้างในกรณีผู้นำ
สหภาพแรงงานใช้บริการถ่ายเอกสารของนายจ้าง แต่มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญา จากการตรวจ
สอบพบว่า ตามปกตินายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างถ่ายเอกสารส่วนตัวได้ จะดำเนินการเองหรือเจ้าหน้าที่
ของนายจ้างถ่ายให้ก็ได้ ในครั้งนี้เป็นเอกสารเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน และเจ้าหน้าที่ของนายจ้างเป็น
ผู้ถ่ายให้ นายจ้างเห็นว่ามีความผิดเพราะถ่ายเอกสารจำนวน ๒๘๐ หน้า มีจำนวนมากเกินไป แต่ไม่มี
การร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญา
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๘๕
Master 2 anu .indd 85 7/28/08 8:55:51 PM