Page 83 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 83
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
๔) การละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง
เรื่องร้องเรียนในประเด็นนี้ มีจำนวน ๕๐ เรื่อง
สถานการณ์ปัญหาและรูปแบบการละเมิดในประเด็น
นี้ทวีความซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งใน
รายงานนี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเด็นสำคัญ ดังนี้
(๑) นายจ้างในหลายกิจการไม่ยอมรับ
การจัดตั้งสหภาพแรงงานและการใช้สิทธิยื่น
ข้อเรียกร้องและเจรจาต่อรองของลูกจ้าง และ
กลั่นแกล้งผู้นำและสมาชิกสหภาพแรงงาน มีการ
โ โยกย้ายหน้าที่การงานหรือเลิกจ้าง หรือดำเนินคดีอาญากับผู้นำสหภาพแรงงาน หรือไม่ให้ผู้แทนยกย้ายหน้าที่การงานหรือเลิกจ้าง หรือดำเนินคดีอาญากับผู้นำสหภาพแรงงาน หรือไม่ให้ผู้แทน
ลูกจ้างในการเจรจาข้อเรียกร้องเข้าทำงาน ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายบริหารกดดันลูกจ้าง หรือให้คำมั่น
ว่าจะเพิ่มค่าจ้างให้ เพื่อให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานลาออกจากสมาชิก หรือถอนตัว
จากการเรียกร้อง และการเจรจาแสดงให้เห็นว่านายจ้างไม่มีความจริงใจในการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาทแรงงานดังปรากฏรายละเอียดในกรณีตัวอย่าง ดังนี้
นายจ้างในกิจการผลิตท่อส่งน้ำมันและท่อส่งกาซจังหวัดระยองไม่แต่งตั้งตัวแทนนายจ้าง
ในการเจรจาข้อเรียกร้องของลูกจ้าง อ้างว่ากรรมการบริษัท ฯ ผู้มีอำนาจตัดสินใจเดินทางไป
ต่างประเทศ ไม่ประสงค์จะเจรจา หรือจะไม่ลงนามในบันทึกการเจรจาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้าง ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายบริหาร กดดันลูกจ้าง หรือให้คำมั่นว่าจะเพิ่มค่าจ้างให้ เพื่อให้ลูกจ้าง
ลาออกจากสมาชิก หรือถอนตัวจากการเรียกร้อง แสดงให้เห็นว่านายจ้างไม่มีความจริงใจในการเจรจา
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๘๓
Master 2 anu .indd 83 7/28/08 8:55:30 PM