Page 80 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 80

๔
        บทที่






              เพื่อขอค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม เนื่องจากยอดค่ารักษาพยาบาล ณ ปัจจุบันประมาณ ๙๐,๐๐๐ บาท และ
              ยังต้องรักษาต่อไปอีก สภาพที่เลวร้ายจากการเจ็บป่วยกดดันให้ลูกจ้างต้องลาออกจากงานเอง แต่นายจ้าง
              ได้จ่ายเงินช่วยเหลือให้จำนวน ๖๐,๐๐๐บาท
                    อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีว่า นายจ้างไม่ติดใจฟองคดีต่อศาลแรงงานให้เพิกถอนคำ
              วินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ดังเช่นที่นายจ้างบางรายได้ใช้สิทธิทางศาลต่อสู้คดี
              จนใช้เวลานานหลายปี และศาลก็วินิจฉัยว่าเป็นการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
                    จากการพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการฯ นายจ้างยินดีที่จะอำนวยความ
              สะดวกให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง มิใช่หาซื้อยากินเองตามยถากรรม
              เนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา ซึ่งจะเป็นผลดีให้ลูกจ้างมีสุขภาพที่ดีขึ้น นายจ้างไม่ต้องมีความเสี่ยง

                                                         ต้องชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและความเสียหาย
                                                         ที่อาจมีทั้งส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของนายจ้างและ
                                                         ขวัญกำลังใจของลูกจ้างที่ยังทำงานอยู่ (คำร้องที่
                                                         ๘๒/๒๕๕๐ กรณีนางจันทร์เพ็ญ นีซังผู้ร้องห้าง
                                                         หุ้นส่วนจำกัด ซี บี เพ้นท์ ผู้ถูกร้อง)
                                                         	     กรณีนี้มีประเด็นที่ควรพิจารณาคือ
                                                         ลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากสารเคมีควรได้รับการ

                                                         ตรวจรักษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นได้อย่างไร
                                                         มาตรการป้องกันโรคสำหรับลูกจ้างที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
                                                         และกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ การบริหาร
              จัดการของสำนักงานประกันสังคม ในเรื่องเงินทดแทน เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยจากการทำงานและการ
              เรียกเก็บเงินค่าบริการของโรงพยาบาล ยังไม่มีประสิทธิภาพและล่าช้าเกินควร

              	     (๘) นายจ้างในกิจการธุรกิจการบิน ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย
              ในการทำงานโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
              แรงงานได้ออกหนังสือเตือน ตามหนังสือแจ้งลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

                    ส่วนสำนักมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินอากาศ กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบเมื่อ
              เดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ พบข้อบกพร่องหลายประการ กล่าวคือ ยังไม่จัดทำคู่มือประกอบการบินให้
              เรียบร้อยและทันสมัย ไม่มีการฝึกอบรมบุคลากรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กล่องยาสามัญประจำอากาศยาน
              ไม่มีฉลากระบุวันหมดอายุ พนักงานบนเครื่องบินไม่มีความรู้ในการใช้ออกซิเจน อุปกรณ์ป้องกันควันไฟ
              การนำผู้โดยสารออกจากอากาศยาน และได้แนะนำให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบิน
                    การตรวจสอบดังกล่าวเกิดจากการร้องเรียนของลูกจ้าง แต่ในที่สุดลูกจ้างที่เป็นแกนนำถูกประเมินผล

              การทำงานว่าทำงานมีข้อบกพร่อง และถูกเลิกจ้างในเวลาต่อมา  (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๔/
              ๒๕๕๑ กรณี นางสาวชลธิชา เทียมเทพ ผู้ร้อง บริษัท พี บี แอร์ จำกัด ผู้ถูกร้อง)






        ๘๐    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   80                                                                      7/28/08   8:54:56 PM
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85