Page 78 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 78

๔
        บทที่












































                    อนึ่ง การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ต้องเป็นความสมัครใจและเป็นการตัดสินใจของ
              ลูกจ้างโดยรับรู้ข้อมูลครบถ้วน  เนื่องจากตามมาตรา  ๓๙  ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของ
              นายจ้างด้วย เมื่อตนเองตกเป็นผู้ทุพพลภาพ จะมีกำลังส่งเงินสมทบหรือไม่ และการลาออกจากงาน
              ย่อมทำให้เสียสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เห็นได้ว่าวิธีคิดในการแก้ไขปัญหาของ
              เจ้าหน้าที่ยังมีลักษณะแยกส่วน ทำให้ลูกจ้างสูญเสียสิทธิที่สำคัญ
                    ลูกจ้างร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมพูดกับลูกจ้างที่บาดเจ็บและภรรยาของ

              ลูกจ้างว่า “ทำไมต้องร้องเรียนชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล
              ให้เกินจำนวนที่กองทุนเงินทดแทนจ่ายแล้วนายจ้างมีสิทธิจะไม่จ่ายค่ารักษาก็ได้ จะเรียกร้อง
              อะไรอีก”
              	     นอกจากนี้ นายจ้างได้ทำประกันอุบัติเหตุให้แก่ลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการขับรถ หรือขนส่ง
                                                     ระบุให้นายจ้างเป็นผู้รับประโยชน์ และเก็บรักษาสัญญา
                                                     ประกันภัยไว้ โดยมิได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์
                                                     ให้ลูกจ้างทราบ  เนื่องจากลูกจ้างต้องพักรักษาตัว

                                                     ประมาณ  ๓  เดือน  นายจ้างจึงไม่จ่ายเงินโบนัสให้
                                                     เมื่อลูกจ้างเดินทางกลับภูมิลำเนาต่างจังหวัดโดยภรรยา
                                                     ต้องลาออกจากงานมาดูแล นายจ้างก็มิได้จ่ายเงินช่วย
                                                     เหลือในการครองชีพของลูกจ้างแต่อย่างใด


        ๗๘    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   78                                                                      7/28/08   8:54:40 PM
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83