Page 77 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 77
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
การตรวจสอบที่ ๘๗/๒๕๕๐ กรณี นางสาววราพร รักไทย ผู้ร้อง บริษัทมิกาซ่า อินดัสตรี้
(ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ถูกร้อง)
(๕) การไม่ขึ้นทะเบียนของนายจ้าง ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน ไม่สามารถเบิก
ค่ารักษาพยาบาล และค่าทดแทนการหยุดงานจากกองทุนเงินทดแทนได้ เพราะบริษัทไม่ได้แจ้งขึ้น
ทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ทำให้ลูกจ้างรายซึ่งมีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อนต้อง
จ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเป็นจำนวนมาก และต้องรอเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว
เพราะเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมต้องตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังในเรื่องวันที่เข้าทำงานในสถาน
ประกอบการ ระยะเวลาการทำงานอัตราค่าจ้างต่อวัน หรือต่อเดือน รวมถึงหลักฐานการรักษา
พยาบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาออกคำสั่งในเรื่องเงินทดแทน
(๖) การแนะนำให้ลาออกเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน นายจ้างในกิจการการพิมพ์
ให้ลูกจ้างลาออก เนื่องจากประสบอุบัติเหตุถูกรถบรรทุกชน ในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งเอกสารให้
นายจ้าง ต่อมาแพทย์ลงความเห็นว่า ร่างกายตั้งแต่ช่วงเอวลงไปไม่มีความรู้สึกขยับไม่ได้เป็นเหตุให้
ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ นายจ้างเกลี้ยกล่อมให้ลูกจ้างลาออกจากงาน โดยสัญญาว่าจะให้เงินค่า
รักษาพยาบาลจำนวนหนึ่ง และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ และสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตาม
มาตรา ๓๙ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้โดยได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับว่าได้แนะนำเช่นว่านี้จริง เนื่องจาก
ต้องการให้ลูกจ้างสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตลอดไป
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๗๗
Master 2 anu .indd 77 7/28/08 8:54:30 PM