Page 75 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 75
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญในปัญหา
ข้อเสนอของลูกจ้างให้จัดตั้งองค์กรอิสระที่ดูแลเรื่อง
ความปลอดภัยในการทำงาน และเป็นเรื่องที่ใช้
เวลาในการดำเนินคดีกว่าคดีจะถึงที่สุดกินเวลา
หลายปี เพราะต้องผ่านขั้นตอนเจ้าหน้าที่กองทุน
เงินทดแทน การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุน
เงินทดแทน การฟ้องเพิกถอนคำสั่งต่อศาลแรงงาน
และการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
(๓) ปัญหาการสอบข้อเท็จจริงไม่ละเอียดรอบคอบ มีกรณีลูกจ้างของบริษัทด้านรักษา๓) ปัญหาการสอบข้อเท็จจริงไม่ละเอียดรอบคอบ มีกรณีลูกจ้างของบริษัทด้านรักษา
ความปลอดภัยให้แก่กิจการสวนส้มที่จังหวัดเชียงใหม่ ประสบอันตรายในระหว่างการเคลื่อนย้าย
เสาวิทยุจนนิ้วมือพิการ นายจ้างอ้างว่าเป็นกรณีที่ไม่เกี่ยวกับงานเพราะเสาวิทยุและวิทยุเป็นของลูกจ้าง
และลูกจ้างใช้วิทยุเพื่อส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่
จากการตรวจสอบพบว่า เครื่องมือวิทยุสื่อสารแต่เดิมนายจ้างจัดให้ ต่อมาชำรุดลูกจ้างจึง
จัดหามาเองและลูกจ้างได้ติดตั้งเสาวิทยุและอุปกรณ์วิทยุสื่อสารเพื่อความสะดวกในการทำงานให้แก่
นายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว จึงย่อมได้รับการคุ้มครองจาก
กองทุนเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้ว
เจ้าหน้าที่เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า หากเสาวิทยุหรือวิทยุสื่อสารเป็นของลูกจ้างหรือลูกจ้างจัดหา
มาเอง จะไม่ถือว่าเกี่ยวกับงานหรือการรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง และเชื่อคำให้การของสามี
นายจ้างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าลูกจ้างใช้วิทยุเพื่อส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่สามีของนายจ้างในฐานะหัวหน้า
พนักงานรักษาความปลอดภัยก็ยืนยันว่าเคยให้วิทยุสื่อสารแก่ลูกจ้างที่ประสบเหตุใช้ในการทำงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้ความหมายการประสบอันตรายว่า “การที่
ลูกจางไดรับอันตรายแกกาย หรือผลกระทบแกจิตใจ หรือถึงแกความตายเนื่องจากการทำงาน
หรือปองกันรักษาประโยชนใหแกนายจางหรือตามคำสั่งของนายจาง” เจตนารมณ์ของกฎหมาย
จึงมุ่งหมายคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยแก่ร่างกาย จิตใจหรือชีวิตของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับ
การทำงานหรือประโยชน์ของนายจ้าง ครอบคลุมตั้งแต่เหตุที่เกิดจากการทำงานในความรับผิดชอบ
ของลูกจ้าง หรือการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง
ส่วนการรวบรวมข้อเท็จจริง การวินิจฉัยและออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม
จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่สอบปากคำพนักงานรักษาความปลอดภัยที่เป็นลูกจ้างเพียงคน
เดียวและเพิ่งทำงานได้เพียง ๑๕ วันเท่านั้น ย่อมไม่อาจรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงานเพียงพอ
ไม่ปรากฏว่ามีการสอบปากคำของพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติหน้าที่ที่สวนส้มทั้งสองแห่ง
ซึ่งมีจำนวน ๗ คน และไม่มีการสอบปากคำของลูกจ้างที่ทำหน้าที่สายตรวจเลย
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เงินทดแทน พบว่าตามหนังสือ
อุทธรณ์เงินทดแทนของลูกจ้าง ระบุข้อความแต่เพียงว่า ลูกจ้างขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
เพิ่มเติมทั้งจากตนเองและคนรอบข้าง และขอให้นายจ้างและลูกจ้างมานั่งพร้อมกันต่อหน้าเจ้าหน้าที่
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๗๕
Master 2 anu .indd 75 7/28/08 8:54:18 PM