Page 68 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 68

๔
        บทที่










































              นายจ้างในประเทศไทยเห็นว่าเป็นการนำความเท็จไปร้องเรียน ทำให้นายจ้างเสียภาพพจน์และชื่อเสียง
              จึงได้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินใด ๆ
                    อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันต่อหน้าพนักงานตรวจแรงงานได้ โดยนายจ้างยินดี
              จ่ายเงินค่าชดเชย จำนวน ๒๑๑,๒๐๐ บาท ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน ๓๓,๔๔๐
              บาท และค่าจ้าง จำนวน ๑๕,๘๔๐ บาท นั้น นายจ้างได้โอนเงินเข้าบัญชีของลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง
              ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดอีก


              	     (๔)  นายจ้างในกิจการอิเลคทรอนิคส์  (ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์)  อ้างเหตุว่าประสบภาวะ
              ขาดทุน คำสั่งซื้อลดลงและจำเป็นต้องลดขนาดองค์กร ได้เลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนมากซึ่งรวมทั้ง
              ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ด้วย รวมทั้งสิ้น ๑๐ คน ลูกจ้างเห็นว่าไม่เป็นธรรมและฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติ
              คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ แต่เจ้าหน้าที่สำนักงาน
              สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี แนะนำให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับเงินค่าชดเชยตาม
              กฎหมาย ในขณะที่ลูกจ้างต้องการให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
              	     ประเด็นที่ควรพิจารณา ก็คือ พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้า

              ทำงานได้หรือไม่ หากฟังว่านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ชอบ (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔/๒๕๔๘
              กรณี นายวิชชุพล สุวรรณวัฒน์ ผู้ร้อง บริษัท เอ็ม เอ็ม ไอ พรีซิชั่น (ไทยแลนด์ ) จำกัด ผู้ถูกร้อง)
              	     นอกจากนี้ ลูกจ้างมีครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างได้มีจดหมายถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แห่งชาติ ความว่า


        ๖๘    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   68                                                                      7/28/08   8:53:21 PM
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73