Page 66 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 66

๔
        บทที่








































                                        ปัญหาต่อมาก็คือ  กรณีเลิกจ้างที่เข้าข่ายจะต้องจ่ายค่าชดเชยตาม
                                  กฎหมาย มักจะมีข้อโต้แย้งในข้อกฎหมายกันเสมอว่า จะต้องนำค่าเที่ยวหรือ
                                  ค่าตอบแทนอื่นๆ ของพนักงานขับรถมาคำนวณเงินค่าชดเชยหรือไม่  ทำให้
                                  ลูกจ้างมีภาระต้องฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล  ซึ่งกว่าคดีจะถึงที่สุดกินเวลา
                                  ยาวนานมาก และมีข้อจำกัดที่ กสม. ต้องยุติการตรวจสอบ เมื่อเป็นประเด็นเดียว
                                  กับการวินิจฉัยของศาล*
                                        นอกจากนี้ นายจ้างยังทำผิดกฎหมายอีกหลายเรื่อง เช่น มิได้นำเงิน
              ประกันการทำงานที่หักจากลูกจ้างไปฝากธนาคารในชื่อบัญชีของลูกจ้างตามประกาศกระทรวงแรงงาน

              และสวัสดิการสังคมฉบับลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๑ หักเงินค่าจ้างไว้เป็นเงินสะสมซ้ำซ้อนกับเงิน
              ประกันการทำงาน ไม่มีการจ่ายสบทบจากนายจ้างและไม่คิดดอกเบี้ยให้ ลูกจ้างที่อายุมากแล้วหาก
              ขับรถอาจเกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จึงขอเปลี่ยนย้ายงานหรือเกษียณอายุ นายจ้างเพิกเฉย
              อ้างว่าหากทำงานไม่ไหวก็ให้ลาออก  มิใช่หน้าที่นายจ้างจะต้องเลิกจ้างและไม่มีระเบียบเรื่องการ
              เกษียณ ในที่สุดลูกจ้างประสบอันตรายจากการขับรถ (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๖๒/๒๕๕๐
              กรณีนายอำนาจ หมวกแก้ว ผู้ร้อง บริษัท ทีไลน์ทรานสปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง)



              * รายงานผลการตรวจสอบ โดย กสม. กรณีนายมนตรี นาคภักดี กับพวก ผู้ร้อง บริษัท มิตเฟรท จำกัด ผู้ถูกร้อง, กรณีบริษัท
              เจ ทรานสปอร์ต จำกัด, กรณี นายอำนาจ หมวกแก้วกับพวก ผู้ร้อง บริษัท ทีไลน์ ทรานสปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง, กรณีนายประวีร์
              ฟุ้งสุข กับพวก บริษัท ลินฟอกซ์ ทรานสปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง, กรณีนายสุรพล เฮงไทร กับพวก ผู้ร้อง บริษัท เฟิร์ส ทรานสปอร์ต
              จำกัด ผู้ถูกร้อง, กรณีนายสาธิต ลองกระโทก กับพวก ผู้ร้อง บริษัท เขมจิราขนส่ง จำกัด ผู้ถูกร้อง, คำร้องที่ ๓๒๑/๔๙ กรณี
              นายสมศักดิ์ อินทร์เดช กับพวก ผู้ร้อง บริษัทอินเทอร์นิตี้แกรนด์ โลจิสติส์ จำกัดและกรณี นายคำร้องที่ ๖๔๖/๒๕๔๘ กรณี บริษัท
              ไทยมาร์จ คอนเทนเนอร์ เซอร์วิส จำกัด

        ๖๖    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   66                                                                      7/28/08   8:52:58 PM
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71