Page 70 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 70

๔
        บทที่






              	     อนึ่ง เกี่ยวกับประเด็นลูกจ้างตั้งครรภ์ พบว่านายจ้างได้ละเมิดอีกหลายลักษณะ ที่พบมากคือ
              การกดดันให้ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ลาออกจากงาน  หรือไม่เปลี่ยนย้ายงานที่เหมาะสมให้จนลูกจ้าง
              ต้องลาออกจากงานไปเอง หรือย้ายให้ไปทำงานที่หนักกว่าเดิม เป็นการบีบคั้นให้ออกจากงาน ไม่จัด
              ผ้าคลุมท้องให้ หากงานที่ทำเกิดความเสียหาย หรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งสินค้า นายจ้างจะหักเงิน
              ค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โดยไม่คำนึงว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความประมาทของลูกจ้างหรือไม่
              ตลอดจนการอ้างความผิดทางอาญา เช่น ลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์นายจ้างเพื่อกดดันให้ลูกจ้าง
              ลาออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๑๔๑/๒๕๕๐ กรณี นางสาว
              ปริยากร เหลือล้น ผู้ร้อง บริษัท อึ้งประภากร เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ถูกร้อง)
                                                              โดยเฉพาะนายจ้างรับเหมาค่าแรงส่วนใหญ่

                                                        ประกาศชัดเจนว่าไม่มีนโยบายจ้างงานคนตั้งครรภ์
                                                        หากตั้งครรภ์จะถูกส่งตัวไปประจำที่สำนักงานของ
                                                        บริษัทรับเหมาค่าแรง
                                                              ยังมีลูกจ้างอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ
                                                        จากการกระทำดังกล่าว แต่ลูกจ้างไม่พร้อมหรือไม่
                                                        กล้าร้องเรียนหรือเรียกร้องสิทธิ  เกรงว่าจะถูก
                                                        นายจ้างกลั่นแกล้ง  ในส่วนที่ร้องเรียนต่อคณะ

                                                        กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกพนักงานตรวจ
                                                        แรงงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง
              แรงงานจังหวัดและเขตพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมบางราย ตำหนิว่าลูกจ้างหรือผู้ร้อง
              เรียนชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ และถามลูกจ้างว่า “ทำไมตองรองเรียนคณะกรรมการสิทธิฯ
              ดวยหรือ çหากรองเรียนคณะกรรมการสิทธิฯ ก็ไมตองมาขอความชวยเหลือจากเจาหนาที่”

              	     (๕) การอายัดเงินเดือนของลูกจ้าง มีกรณีกิจการร่วมค้า ไอโอที ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ
              การติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์ ได้รับโทรสารจากสำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่ง ขอให้อายัดเงินเดือน
              ของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต โดยยังไม่มีหมายบังคับคดีของกรมบังคับคดี และแจ้งว่าจะส่งต้น

              ฉบับหนังสือให้ในภายหลัง
                    ต่อมา นายจ้างได้ทำหนังสือถึงธนาคารขอคืนเงินเดือนของลูกจ้าง จำนวน ๒๖,๔๗๕ บาท
              เพื่อนำกลับไปหักชำระหนี้ จำนวน ๘,๘๕๐ บาท
                    นายจ้างยอมรับว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ แต่กระทำไปเพื่อปกป้องชื่อเสียงของ
              นายจ้าง  เนื่องจากเป็นการทำงานของลูกจ้างเดือนสุดท้าย  เกรงว่าหากรอต้นฉบับเอกสารจาก
              สำนักงานกฎหมาย ฯ อาจไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ ซึ่งตัวแทนนายจ้างได้มาร่วมประชุมกับ

              คณะอนุกรรมการฯ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี และนายจ้างได้คืนเงินลูกจ้างที่หักไว้แล้ว (รายงาน
              ผลการตรวจสอบที่ ๓๐๕/๒๕๕๐ กรณี นางสาวกุลกัญญา โตเจริญทรัพย์ ผู้ร้อง กิจการร่วมค้า
              ไอโอที ผู้ถูกร้อง)

              *	คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม  ๒๕๔๘

        ๗๐    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   70                                                                      7/28/08   8:53:39 PM
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75