Page 73 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 73

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






              เกี่ยวกับงานบ้านที่ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจอยู่ด้วย เช่น ลูกจ้างทำงานบ้าน หรือแม่บ้าน เป็นต้น
                    ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ มีนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน จำนวน
              ๓๑๙,๙๐๔ ราย และลูกจ้างในข่ายคุ้มครองกองทุนเงินทดแทน จำนวน ๘,๐๙๓,๙๑๓ คน
                    ในรอบ  ๕  ปี  คณะอนุกรรมการ  ฯ  ได้รับเรื่องร้องเรียนในประเด็นนี้ จำนวน  ๑๔  เรื่อง
              ซึ่งมีรายละเอียดของกรณีตัวอย่าง ดังนี้

              	     (๑) นายจ้างในกิจการปันทอฟอกย้อม จังหวัดสมุทรปราการ นายจ้างไม่ให้ความสำคัญ
              ในเรื่องความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อสหภาพแรงงานได้ร้องเรียน
              ต่อหน่วยงานภาครัฐ ว่าอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย จนกระทั่งนายกเทศมนตรีใน

              ฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารเนื่องจากอาจเป็น
              อันตรายตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
              พ.ศ. ๒๕๒๒ เฉพาะส่วนที่เคยถูกเพลิงไหม้และให้นายจ้างหรือเจ้าของอาคารมายื่นแบบขออนุญาต
              ดัดแปลงอาคารภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับคำสั่ง
                    นอกจากนี้ กองตรวจความปลอดภัยร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
              สมุทรปราการ เข้าตรวจสอบสถานประกอบกิจการ พบว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่า
              ด้วยความปลอดภัย  สารเคมีอันตราย  ภาวะแวดล้อมเรื่องเสียง  หม้อน้ำร้อน  อัคคีภัย  และ

              ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง  จึงออก
              คำสั่งให้นายจ้างปรับปรุงแก้ไข  ภายใน  ๓๐  วัน
              นับแต่วันได้รับคำสั่ง ซึ่งนายจ้างได้ปฏิบัติตาม
                    ในขณะเดียวกัน นายจ้างกลับนำเครื่องจักร
              จำนวน ๒ เครื่อง น้ำหนักประมาณ ๓๔ ตัน ติดตั้ง
              บนอาคารที่เคยเกิดเพลิงไหม้และมีรอยแตกร้าว
              ลูกจ้างเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย  จึงได้ลงลายมือชื่อ
              รวม ๗๒๕ คน ร้องเรียนให้จังหวัดสมุทรปราการ
              ตรวจสอบ

                    ต่อมา  ลูกจ้างได้ยื่นหนังสือต่อกระทรวงแรงงาน  ให้ตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยในการ
              ใช้อาคาร เสียงและฝุ่นละออง เจ้าหน้าที่ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานได้เข้าร่วมตรวจสอบเรื่อง
              ฝุ่นและเสียง ๒ ครั้ง แต่ก็ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สหภาพแรงงานจึงได้นำสมาชิกเดินขบวน
              ไปทวงถามที่กระทรวงแรงงาน และติดตามผลเป็นระยะ ๆ
                    เมื่อรัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง  ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานก็หันไปพึ่งกระบวนการ
              ยุติธรรม ทำให้มีการฟ้องคดีซึ่งกันและกันมากขึ้นจนทำให้ความขัดแย้งบานปลาย นายจ้างจึงกลั่นแกล้ง
              ลูกจ้างมากยิ่งขึ้น เช่น ไม่ให้ประธานสหภาพแรงงานและผู้ช่วยเลขานุการสหภาพแรงงานเข้าทำงาน

              แต่ให้มาตอกบัตรลงเวลาทำงานทุกวัน ย้ายกรรมการสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปทำงานที่
              แผนกเดียวกันและต่อมายุบแผนกงานนั้นเสีย สั่งหยุดกิจการชั่วคราวและจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างร้อยละ
              ๕๐ ตามกฎหมาย เป็นวิธีการหนึ่งที่จะบีบคั้นให้ลูกจ้างลาออกจากงาน (รายงานผลการตรวจสอบที่


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๗๓





     Master 2 anu .indd   73                                                                      7/28/08   8:54:04 PM
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78