Page 64 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 64

๔
        บทที่










































                    อย่างไรก็ตาม  กรณีนี้ถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ได้ใช้อำนาจในทางบริหาร
              กฎหมายเชิงรุก โดยออกประกาศกระทรวงห้ามมิให้นายจ้างขนย้ายทรัพย์สินเป็นการชั่วคราวและได้สั่ง
              การให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหา จนกระทั่งมีการประชุมร่วมกับคณะ
              อนุกรรมการฯ เพื่อหาแนวปฏิบัติและข้อยุติในปัญหาข้อขัดแย้ง และในที่สุดลูกจ้างก็ได้รับสิทธิครบ
              ถ้วนตามกฎหมาย และสหภาพแรงงานยังได้เรียกร้องต่อรองจนนายจ้างตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้
              สมาชิกสหภาพแรงงานอีกประมาณ ๕๐ ล้านบาท (คำร้องที่ ๔๕๔/๒๕๔๙ กรณี นางสาวดวงใจ
              เมืองทอง ผู้ร้อง บริษัท จีน่าฟอร์มบรา จำกัด ผู้ถูกร้อง)
              	     ประเด็นพิจารณา ก็คือ	กระทรวงแรงงานจะมีมาตรการทางกฎหมายและทางบริหาร

              เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง  หรือปองกันปัญหาทำนองดังกล่าวนี้อย่างไร  มิฉะนั้น
              กระทรวงแรงงานก็จะต้องคอยแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณีอีกต่อไป

              	     (๒) นายจ้างในกิจการขนส่งได้ละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานหลายประการ และออก
              ประกาศ หรือระเบียบโดยไม่เป็นธรรม เช่น เรื่องการบริหารอัตราการใช้น้ำมัน หากลูกจ้างเติม
              น้ำมันเกินกว่าที่กำหนด จะถูกพิจารณาโทษทางวินัย หากอุปกรณ์ที่บริษัทฯ ติดตั้งเพิ่มเติม(ตัวล็อคฝา
              ถังและซีล) เกิดความเสียหายหรือชำรุด ถือเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรงและหากพนักงานขับรถไม่
              สามารถปฏิบัติตามที่กำหนดได้ จะถูกย้ายไปขับรถสำรอง ทำให้ค่าเที่ยวลดลงจำนวนมาก

                    ประกาศดังกล่าวยังได้ระบุว่า นายจ้างมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและระเบียบต่าง ๆ
              ได้ตามที่เห็นสมควร ทั้ง ๆ ที่อำนาจของนายจ้างเหล่านี้ถูกจำกัดโดยกฎหมาย


        ๖๔    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   64                                                                      7/28/08   8:52:46 PM
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69