Page 72 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 72
๔
บทที่
๒) การละเมิดสิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานและเงินทดแทน
แรงงานเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่ง ในการจ้างงานหรือการใช้แรงงาน นายจ้างจึงต้อง
มีหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง และถนอมคุณภาพชีวิตของแรงงาน โดยเฉพาะนายจ้างมีหน้าที่ตาม
กฎหมายในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและชดใช้เยียวยาในกรณีลูกจ้าง
เจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือตายเนื่องจากการทำงาน
ในประเด็นนี้ มีกฎหมายด้านแรงงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ฉบับ คือพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติ
เงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว และแจ้งการประสบ
อันตรายเนื่องจากการทำงานต่อเจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม
อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ไม่ใช้บังคับแก่กิจการดังต่อไปนี้
(๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนภูมิภาค
(๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(๓) นายจ้างซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
(๔) นายจ้างซึ่งดำเนินกิจการที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
(๕) นายจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ลูกจ้างที่อยู่ในข่ายการคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนมีความหมายเช่นเดียวกับกองทุน
ประกันสังคม หมายถึง ผู้ที่ทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างเป็นค่าตอบแทน ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้าง
เป็นรายวัน รายเดือน ตามผลงาน หรือลูกจ้างทดลองงาน รวมถึงลูกจ้างทุกระดับ ตั้งแต่
ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้างในสำนักงานและในโรงงาน ทั้งนี้ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงาน
๗๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 72 7/28/08 8:54:00 PM