Page 65 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 65

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






                                                                ระเบียบดังกล่าวย่อมไม่เป็นธรรม เพราะ
                                                          ครอบคลุมการกระทำที่กว้างเกินไป มีช่องว่างให้
                                                          โต้แย้งและตีความ อาจมีปัจจัยหรือสาเหตุอื่นเข้า
                                                          มาเกี่ยวข้อง  เช่น  สภาพถนน  การจราจรและ
                                                          ภูมิอากาศ  สภาพรถและสินค้าที่ขนส่ง  เป็นต้น
                                                          ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาและตัดสินใจใน
                                                          ขณะนั้น ข้อกำหนดต่าง ๆ จึงต้องมีความยืดหยุ่น
                                                          ดังที่ปรากฏว่า ลูกจ้างได้คัดค้านระเบียบดังกล่าว
                                                                ส่วนที่ระบุว่าเป็นความผิดต่อระเบียบวินัย

                                                          กรณีร้ายแรงย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก
                                                          ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป
                                                                นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
                                                          แรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑  มาตรา  ๑๑๙  (๓)  ได้
                                                          กำหนดในเรื่องคำสั่งของนายจ้างหรือระเบียบจะ
                                                          ต้องชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และมาตรา
                                                          ๑๐๘  ซึ่งบัญญัติให้อธิบดีกรมสวัสดิการและ

                                                          คุ้มครองแรงงานมีอำนาจแก้ไขระเบียบหรือ
              ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่เป็นธรรม  (รายงานผลการตรวจสอบที่  ๔๖๕/๒๕๕๐  กรณี
              นายประวีร์ ฟุงสุข ผู้ร้อง ร้องเรียน บริษัท ลินฟอกซ์ทรานสปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง)
                    นายจ้างในกิจการขนส่งจังหวัดระยองไม่ปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในสถานที่
              ทำงานโดยเปิดเผย ไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี รวม ๒ ปี และค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อน
              ประจำปี จำนวน ๑ ปี และไม่จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามที่กฎหมาย
              กำหนด (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๘๘/๒๕๕๐ กรณีนายไพศาล พลายแก้ว ผู้ร้อง บริษัท เจ
              ทราน สปอร์ต จำกัด ผู้ถูกร้อง)
                    นายจ้างในกิจการขนส่งมักกำหนดเงินเดือนประจำให้พนักงานขับรถเฉลี่ยเดือนละ ๕,๐๐๐-

              ๖,๐๐๐ บาท แต่มีเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ เช่น ค่าเที่ยว ค่าดูแลรักษารถ ค่ารักษาระดับน้ำมัน ค่าเบี้ย
              เลี้ยง และค่าส่งนักท่องเที่ยว เป็นต้น จึงมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
                    เมื่อนายจ้างขัดแย้งกับลูกจ้างก็จะไม่ให้ลูกจ้างขับรถตามปกติ โดยอ้างเหตุต่างๆ เช่น จะใช้
              สิทธิทางศาลเพื่อขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง หรืออ้างเหตุผลในทางบริหารจัดการว่า ผู้ว่าจ้างของ
              นายจ้างเรียกรถหัวลากคืน หรือเพื่อลดต้นทุนด้านค่าจ้าง หรือต้องนำรถไปซ่อม ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับ
              เงินค่าเที่ยว เฉลี่ยเดือนละจำนวน ๑๒,๐๐๐ - ๑๕,๐๐๐ บาท ทำให้ลูกจ้างขาดรายได้สำหรับเลี้ยงชีพ
              และครอบครัว  และไม่อาจทนทำงานอยู่ต่อไปได้  หากจะฝืนทนทำงานก็จะต้องกู้หนี้ยืมสินซึ่งต้อง

              เสียดอกเบี้ยสูงมาก  ลูกจ้างจึงมักจะจำยอมลาออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใด  ๆ  จาก
              นายจ้าง นับเป็นพฤติการณ์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๖๕





     Master 2 anu .indd   65                                                                      7/28/08   8:52:52 PM
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70