Page 67 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 67
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
(๓) นายจ้างในกิจการสิ่งทอโยกย้ายแถวการ
ผลิตและเลิกจ้างลูกจ้าง ภายหลังที่ผู้ร้องทั้งสองให้
ข้อเท็จจริงต่อบริษัทตรวจสอบมาตรฐานจรรยา
บรรณทางการค้า ลูกจ้างให้ข้อเท็จจริงต่อผู้ตรวจสอบ
มาตรฐานว่า นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครอง
แรงงาน เอาเปรียบลูกจ้าง เช่น ลาป่วยแม้มีใบรับรอง
แพทย์มาแสดงก็ไม่ได้รับค่าจ้าง ยกเว้นเฉพาะกรณีผู้ป่วย
ใน ถูกหักค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินค่าจ้างผ่านธนาคาร
ครั้งละ ๗.๕๐ บาท และจ่ายค่าจ้างในวันหยุดให้เพียง
หนึ่งเท่าของค่าจ้าง ลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติงานในวันหยุด
ดังกล่าว นายจ้างจะให้ลากิจ
ผู้แทนของบริษัท ลี แอนด์ ฟุง (ประเทศไทย) จำกัด
ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของนายจ้างยืนอยู่ด้วยและ
ได้ยินคำพูดของลูกจ้าง ที่พูดว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมายแรงงาน หรือเอาเปรียบลูกจ้างและยืนยันว่า
นายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐานดังกล่าว จึงได้
เสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้ ยังมีข้อตกลงระหว่างบริษัทตรวจสอบกับนายจ้างด้วยว่า นายจ้างจะต้องไม่
กลั่นแกล้งลูกจ้างหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้ให้ข้อเท็จจริงต่อบริษัทตรวจสอบ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการ
ตรวจสอบจรรยาบรรณทางการค้า
ภายหลังเลิกจ้าง ลูกจ้างได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่เจ้าหน้าที่กลับแนะนำให้
ลูกจ้างถอนคำร้องทุกข์ อ้างว่าหากฟ้องคดีต่อศาลแรงงานจะรวดเร็วกว่า
บริษัท ลี แอนด์ ฟุง จำกัด ไม่เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยขอให้ศาลแรงงานเป็น
ผู้ตัดสิน
เมื่อลูกจ้างไม่ประสงค์จะกลับเข้าทำงานเกรงจะถูกกลั่นแกล้ง และขอให้คณะอนุกรรมการฯ
ช่วยไกล่เกลี่ยให้นายจ้างจ่ายเงินช่วยเหลือ การไกล่เกลี่ยไม่ประสบผลสำเร็จ ลูกจ้างจึงต้องดำเนินคดี
ต่อศาลแรงงาน และลูกจ้างเป็นฝ่ายแพ้คดี
ประเด็นที่ควรพิจารณา คือ พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจที่จะดำเนินการหรือออก
คำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้หรือไม่ หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่านายจ้างกลั่นแกล้ง
เลิกจ้าง ซึ่งกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิได้ให้
อำนาจพนักงานตรวจแรงงานในเรื่องดังกล่าว และบริษัทตรวจสอบด้านจรรยาบรรณทางการค้าจะมี
บทบาทช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิลูกจ้างในกรณีนี้ได้อย่างไร (รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๕๑/๒๕๔๗
นางสมพร พิลาบรรธ์ และ นางบุญสม ทองสุข ผู้ร้อง บริษัท เวิลด์คัพ อินดัสตรี จำกัด ผู้ถูกร้อง)
มีกรณีที่ลูกจ้างได้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน เขตพื้นที่สาธร อ้างว่านายจ้างได้บังคับให้
ทำงานล่วงเวลาโดยที่ผู้ร้องไม่ยินยอม และได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังบริษัทของนายจ้างที่ต่างประเทศ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๖๗
Master 2 anu .indd 67 7/28/08 8:53:12 PM