Page 69 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 69

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






                           “เดือน ๆ หนึ่งพวกเราใช้จ่ายไม่น้อยกว่า ๗,๐๐๐ บาทเพื่อการดำรงชีพและใช้จ่ายอื่น ๆ ที่
                       จำเป็น ตอนนี้พวกเราถูกบริษัทเลิกจ้างในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ทุกคนเครียดมาก นอนไม่หลับ
                       ตั้งแต่ถูกเลิกจ้าง ลำพังรายได้ของสามีคงไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไหนจะค่าห้องเช่า ค่าเล่าเรียน
                       บุตร ค่าอยู่ค่ากิน พวกเราถามตัวเองเสมอว่า พวกเราทำผิดอะไรบริษัทถึงเลิกจ้าง และลูกพวกเรา
                       ที่อยู่ในท้องผิดอะไร ต้องมาตกระกำลำบากด้วย มีฝ่ายบริหารบางคนของบริษัทบอกว่าพวกเราผิด
                       ที่ก่อนตั้งท้องไม่ไปให้หมอดูดวงให้ก่อน
                           ทุกคนตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่คิดมาก่อนว่าจะถูกเลิกจ้าง ทุกคนยังทำใจไม่ได้ ยิ่งเห็น
                       ความทุกข์ยากลำบากข้างหน้ายิ่งหดหู่ พวกเราไม่เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก เพราะ
                       ต้องการทำงานกับบริษัทต่อไป นับจากวันนี้ไปจนถึงเจ็ดแปดเดือนข้างหน้า ชีวิตพวกเราจะอยู่
                       อย่างไรในขณะที่ไม่มีรายได้ ไม่มีเงินเก็บออม จะเอาเงินจากไหนเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
                       พวกเราไม่สามารถไปหางานทำใหม่ เพราะกำลังตั้งครรภ์ เดินทางไปไหนมาไหนลำบากและ
                       เป็นการยากมากที่บริษัทอื่นๆ จะรับเข้าทำงาน
                           บริษัทอ้างเหตุในการเลิกจ้างว่าขาดทุน แต่ตลอดเวลาที่ทำงานพวกเราเห็นบริษัทเจริญ
                       เติบโตมีการขยายโรงงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มยอดการผลิตขึ้นทุกป พวกเราไม่เชื่อหรอกว่าบริษัท
                       จะขาดทุนจริง
                           วันนี้นายจ้างยังอยู่ดีกินสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่ลำบาก พวกเขายังมีเงินใช้จ่ายอย่าง
                       มากมาย ยังร่ำรวย และที่สำคัญยังดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างมั่นคง ยังสามารถจ้างฝ่ายบริหารใน
                       อัตราค่าจ้างที่สูง ๆ ได้
                           สุดท้ายพวกเราอยากบอกว่า การเลิกจ้างลูกจ้างไม่ใช่แค่การจ่ายสิทธิประโยชน์ตาม
                       กฎหมายให้ลูกจ้าง แล้วบอกว่าถูกต้องชอบธรรมและให้ลูกจ้างยอมรับสภาพ แต่ต้องคำนึงถึง
                       ศีลธรรมด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ การเลิกจ้างที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตลูกจ้างต้องคิดหนัก
                       และตระหนักให้รอบคอบในด้านอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะลูกจ้างหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะ
                       พวกเราจะเผชิญทุกข์ยาก ลำบากสาหัสมากกว่าคนปกติ พวกเราใช้เงินที่แลกมาด้วยหยาด
                       เหงื่อแรงงานเพื่อการครองชีพของตนเองและลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ การเลิกจ้างพวกเราเท่ากับ
                       ทำลายเศรษฐกิจ  ทำลายข้าวปลาอาหาร  ทำลายสายธารชีวิตและทำลายความเป็นแม่
                       เท่ากับเป็นการกระทำอาชญากรรมที่โหดร้าย  ไร้จริยธรรม  เงินและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
                       ตามกฎหมาย มันคงไม่สามารถทำให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีพได้ตลอดไป หากขาด
                       ความมั่นคงในการมีงานทำ
                           ส่วนรัฐก็อย่ามองหรือเอาแต่เศรษฐกิจของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว ควรมองเศรษฐกิจของ
                       ลูกจ้างด้วย เพราะการล้มละลายทางเศรษฐกิจของลูกจ้าง เป็นปจจัยที่จะนำไปสู่ปญหาอื่นๆ
                       ตามมาไม่ว่าจะเป็นปญหาครอบครัว ปญหาสังคม ปญหาความยากจน ฯ
                           วันนี้ การเลิกจ้างลูกจ้างของนายจ้างสามารถกระทำได้ง่ายมาก ในขณะที่การคุ้มครอง
                       และปกปองสิทธิไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในทางปฏิบัติจากการบังคับใช้กฎหมายฝ่ายเดียว
                       แต่ละเลยกับอีกฝ่าย แน่นอนว่าผู้ที่เสียเปรียบคือ คนงานอย่างพวกเรา รวมไปถึงคนงานทั่วไป
                           พวกเราหวังว่าปญหาของพวกเราจะได้รับการแก้ไขให้เป็นธรรมทั้งทางด้านกฎหมาย
                       และกฎศีลธรรมความดีงามต่อไป”




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๖๙





     Master 2 anu .indd   69                                                                      7/28/08   8:53:31 PM
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74