Page 63 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 63

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






                                                             ต่อมา  ลูกจ้างจำนวน  ๕๖  คนถูกเลิกจ้าง
                                                        โดยนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย  มิได้บอกกล่าวล่วง
                                                        หน้าตามกฎหมาย ลูกจ้างจึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงาน
                                                        ตรวจแรงงานเรียกร้องค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการ
                                                        บอกกล่าวล่วงหน้า  และค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อน
                                                        ประจำปี  แต่เจ้าหน้าที่กลับออกคำสั่งให้นายจ้าง
                                                        จ่ายค่าชดเชยเพียงอย่างเดียว  เมื่อลูกจ้างทักท้วง
                                                        พนักงานตรวจแรงงาน ให้เหตุผลว่านายจ้างโต้แย้ง
                                                        เรื่องตัวเลข  ทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบ  และ

                                                        อาจมีข้อโต้แย้ง แต่เมื่อลูกจ้างยืนยันให้ออกคำสั่ง
                                                        ให้ครบถ้วนตามคำร้อง เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการให้
                                                        โดยมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง
                                                        ตามคำร้อง แต่ปฏิบัติต่อลูกจ้างโดยพูดจาเสียงดัง
                                                        ใช้อารมณ์ ไม่ควรที่ข้าราชการพึงปฏิบัติต่อประชาชน
                                                        	    พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ส่อไปในทางไม่สุจริต
              เข้าข้างหรือปกป้องประโยชน์ฝ่ายนายจ้าง และปฏิบัติหน้าที่โดยไร้ประสิทธิภาพและมิชอบด้วยกฎหมาย

                    จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อลูกจ้าง แม้ว่าในที่สุด
              ศาลแรงงานกลาง (สมุทรสาคร) ได้พิพากษาให้นายจ้าง ชำระเงินให้ลูกจ้างจำนวน ๕๖ คน เป็นเงิน
              จำนวน ๓, ๒๕๗,๗๑๙.๓๘ บาท แต่นายจ้างก็เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ลูกจ้างทั้ง ๕๖ คน
              ไม่สามารถยึดหรืออายัดทรัพย์สินใด ๆ ของนายจ้างได้ เนื่องจากไม่มีทรัพย์สินใด ๆ เหลืออยู่เลย
              ลูกจ้างจึงได้รับความยุติธรรมเพียงตัวเลขตามคำพิพากษาของศาล ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอัน
              มาก (รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๒๑๙/๒๕๕๐ นายทรงศักดิ์ ศรีแพน ผู้ร้อง บริษัท เพ็ญรุ่ง
              บาธฟิตติ้งส์  จำกัด  และพนักงานตรวจแรงงาน  สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
              จังหวัดนครปฐม ผู้ถูกร้อง)


              
     นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่คล้ายคลึงกันอีกหลายกรณี เช่น นายจ้างในกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
              ปิดกิจการโดยไม่จ่ายค่าชดเชย และถูกฟ้องคดีล้มละลาย ต้องผ่านขั้นตอนของกฎหมายล้มละลายเสีย
              ก่อนซึ่งกินเวลาหลายปี ลูกจ้างจึงได้รับเงินค่าชดเชยแต่ก็ไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย (รายงานผลการ
              ตรวจสอบ ที่ ๑๐๔/๒๕๕๐ กรณีนางรสริน หลำหนู ผู้ร้อง บริษัท พาร์ การ์เม้นท์ จำกัด ผู้ถูกร้อง)
                    และเมื่อปี ๒๕๔๙ บริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีลูกจ้างประมาณ
              ๑,๕๐๐ คน ก็ได้ประกาศปิดกิจการล่วงหน้าเป็นเวลาประมาณ ๒ เดือน แต่นายจ้างไม่มีเงินที่จะจ่าย
              ค่าชดเชย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันกลับขนย้ายเครื่องจักรและทรัพย์สินไป

              ต่างประเทศ อ้างว่าเป็นนโยบายของบริษัทแม่ให้ย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เมื่อสหภาพแรงงาน
              เคลื่อนไหวเรียกร้องและแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  นายจ้างจึงแจ้งว่าบริษัทแม่ได้โอนเงินสำหรับ
              ค่าชดเชยและเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายแล้ว


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๖๓





     Master 2 anu .indd   63                                                                      7/28/08   8:52:38 PM
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68