Page 55 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 55
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
(ต่อไปในรายงานนี้จะใช้ชื่อว่าคณะอนุกรรมการ ฯ)
กสม. ทำงานร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเป็นกลไกการทำงานใน
ภารกิจต่างๆ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๐๐
และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
มาตรา ๑๕ (๙) คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่
คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๖ (วรรคสาม) ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการ
อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อทำหน้าที่สืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริง
รับฟังคำชี้แจงและพยานหลักฐาน และจัดทำรายงานตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เสนอต่อ
คณะกรรมการได้ ในการนี้ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ เว้นแต่
คณะกรรมการจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๗ ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าอาจดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการไกล่เกลี่ยบุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหา หาก
คณะกรรมการเห็นว่าการตกลงนั้นอยู่ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้คณะกรรมการจัดให้
มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือไว้และให้ยุติเรื่อง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๕๕
Master 2 anu .indd 55 7/28/08 8:49:48 PM